Skip to main content

"ขึ้นเขา เผาข้าวหลาม" วิถีพื้นบ้าน ดันส่งเสริมท่องเที่ยวชุมชน

24 กุมภาพันธ์ 2567

จากวิถีพื้นบ้านสู่ประเพณี "ขึ้นเขา เผาข้าวหลาม" การร่วมแรงใจของคนในชุมชน ส่งเสริมการอนุรักษ์ เสริมการท่องเที่ยวชุมชน

นางชูชีพ อยู่ยงค์ หรือ ป้าชีพ อายุ 69 ปี ชาวบ้านสายเพชร ที่มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และร่วมผลักดันให้เกิดการจัดตั้งเป็น "วนอุทยานห้วยน้ำซับ" ปัจจุบันได้พัฒนาพื้นที่โดยรอบบ้านพักจัดตั้ง “ศูนย์เรียนรู้วนเกษตร บ้านสายเพชร” นอกจากนี้ ป้าชีพยังเป็นครูต้นแบบวนเกษตรของ สำนักงานปฎิรูปที่ดินเพื่อการเกษตร(สปก.)

นางชูชีพ กล่าวว่า ด้วยความที่ที่ดินของชาวบ้านสายเพชรส่วนใหญ่ เป็นพื้นที่เอกสารสิทธิ์แบบ สปก.ดังนั้นในแนวทาง วนเกษตร(Agro Forestry)นี้  จึงสอดคล้องและได้รับการสนับสนุนจากสำนักงาน สปก.ประจวบคีรีขันธ์ ทั้งในส่วนของต้นพันธ์ไม้ องค์ความรู้ การสนับสนุนในด้านต่างๆ  โดยเมื่อปี 2565 ได้ตั้งให้ ป้าชีพ(นางชูชีพ อยู่ยงค์)เป็นครูต้นแบบและศูนย์เรียนรู้วนเกษตรบ้านสายเพชรเป็นศูนย์ต้นแบบของ ทาง สปก. ซึ่งที่นี่เราจะปลูกป่า ไม้ 5 ระดับ ป่า 3 อย่าง (ป่า 3 อย่าง 1.ของกิน 2.ของใช้ 3.ไม้ทำบ้าน) ประโยชน์ 4 อย่าง (ประโยชน์ 4 อย่าง 1.พอกิน2.พออยู่3.พอใช้4.ร่มรื่นร่มเย็น)

ป้าชีพ เล่าถึงกิจกรรมประเพณีขึ้นเขาเผาข้าวหลามว่า กิจกรรมดังกล่าวมีจุดเริ่มมาจากการที่ชาวบ้านได้เดินขึ้นเขาท่องเที่ยว สำรวจหาของป่าอยู่แล้ว อยากให้ชาวบ้าน มีส่วนร่วมจึงระดมความคิดขึ้น จัดเป็นหน้าเทศกาลประเพณีท้องถิ่น กอปรกับเป็นช่วงที่ดอกกาสะลองคำ(หรือปอคาว) บานพอดีในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคม จึงรวมกลุ่มกันเผาข้าวหลามเพื่อนำขึ้นไปทานข้างบนในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี ซึ่งจัดต่อเนื่องมาแล้ว 19 ปี โดยหวังจะสร้างความรักความสามัคคีของคนในหมู่บ้านและเป็นการส่งต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ในพื้นที่

นอกจากนี้ยังเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวของชุมชนให้เป็นที่รู้จักของคนภายนอกว่า ที่นี่มีต้นการสะลองคำที่ออกดอกสีแดงสวยสดเป็นไม้โขดโบราณอายุนับร้อยปีที่ขึ้นอยู่ที่นี่ที่เดียวในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ อยู่บนเขาปู่ด่างในเขตวนอุทยานห้วยน้ำซับ

ด้านนางวันเพ็ญ ลักยิ้ม ผู้ใหญ่บ้านสายเพชร เผยว่า ชาวบ้านสายเพชรจะร่วมกับทางวนอุทยานฯ จัดกิจกรรม “ขึ้นเขา เผาข้าวหลาม” เป็นประจำในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ เพื่อเป็นส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในชุมชน โดยเฉพาะในช่วงเปลี่ยนผ่านจากฤดูหนาวย่างเข้าสู่ฤดูร้อน ยอดเขาปู่ด่างซึ่งเป็นเขาหินปูน ต่างคราคร่ำไปด้วยต้นปอคาว หรือ อีกชื่อว่า “กาสะลองคำ” นับหลายร้อยต้น พร้อมใจกันเริ่มผลัดใบออกดอกสีส้มอมแดงบานสะพรั่ง ซึ่งต้นปอคาวจัดเป็นพันธ์ไม้โบราณซึ่งปัจจุบันหาชมได้ยากอีกขนิดหนึ่งในประเทศไทย พบเห็นได้ตามยอดเขาหินปูนในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศ ตั้งแต่จ.ประจวบคีรีขันธ์ลงไป ลักษณะของดอกปอคาว จะมีสีส้มอมแดง ออกดอกเป็นช่อแยกที่ปลายกิ่งและง่ามใบ ช่อดอกยาว 5-12 ซ.ม. ปลายกลีบดอกแยกเป็น 5 แฉกอวดโฉมความงดงาม  

กิจรรมดังกล่าวชาวบ้านสายเพชรจะนัดหมาย ร่วมใจช่วยกัน นำมะพร้าว นำข้าวเหนียว ฯลฯ มาร่วมกันเพื่อเผาเป็นข้าวหลาม แจกจ่ายให้กับนักท่องเที่ยวและแบ่งปันกันนำกลับไปทานต่อกันที่บ้าน ถือเป็นกิจการมประเพณีที่สร้างความสมัครสมานสามัคคีภายในหมู่บ้านได้เป็นอย่างดีนอกจากนี่เป็นที่ถูกอกถูกใจของผู้ที่มาเที่ยวชม ถือเป็นกิจกรรมการท่องเที่ยวที่ยังคงความเป็นเอกลักษณ์และวิถีชุมชน อีกทั้งยังเปรียบเสมือนการเปิดฤดูกาลท่องเที่ยวขึ้นเขาปู่ด่างเพื่อชมความงามของดอกปอคาวอายุนับร้อยปี ที่วนอุทยานห้วยน้ำซับและ

นอกจากกิจกรรม “ขึ้นเขา เผาข้าวหลาม” ในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม ของทุกปีที่บ้านสายเพชรยังจัดพิธีบวชป่าขึ้นที่วนอุทยานห้วยน้ำซับ เพื่อส่งเสริมให้คนในหมู่บ้าน เกิดความรักและความหวงแหนในผืนป่า และยังเป็นการแสดงออกถึงวัฒนธรรมการอยู่ร่วมกันของคนในหมู่บ้านกับป่าผืนนี้

ขึ้นเขา เผาข้าวหลาม
ขึ้นเขา เผาข้าวหลาม
ขึ้นเขา เผาข้าวหลาม
ขึ้นเขา เผาข้าวหลาม
ขึ้นเขา เผาข้าวหลาม
ขึ้นเขา เผาข้าวหลาม
ขึ้นเขา เผาข้าวหลาม
ขึ้นเขา เผาข้าวหลาม
ขึ้นเขา เผาข้าวหลาม
เนื้อหาล่าสุด