Skip to main content

เมื่อ ‘คนรุ่นใหม่กลับบ้าน’ ต่อยอด ‘ทุนท้องถิ่น’ สร้างเศรษฐกิจชุมชน

2 กรกฎาคม 2567

 

 

ปัจจุบัน ‘คนรุ่นใหม่’ ของไทยจำนวนไม่น้อยอยากกลับไปใช้ชีวิตที่บ้าน และความฝันอยากสร้างธุรกิจเล็กๆ ที่บ้านเกิดของตัวเอง

กระแสของ ‘คนรุ่นใหม่’ ที่ตัดสินใจกลับบ้านเกิด หลังเรียนจบ ทำงาน สะสมความรู้และประสบการณ์จากเมืองหลวงอยู่นานหลายปี โดยหวนคืนภูมิลำเนาเกิดและเริ่มต้นทำในสิ่งที่ตัวเองรัก พร้อมกับความคิดใหม่ๆ ก่อร่างสร้างธุรกิจขนาดเล็กที่บ้านเกิดตามหัวเมืองน้อยใหญ่ทั่วประเทศ นำความฝัน ความหวัง ความใส่ใจเรื่องสิ่งแวดล้อม สภาวะโลกร้อน ความรู้ยุคดิจิทัล และรูปแบบชีวิตแบบใหม่มาต่อยอด ‘ต้นทุน’ ที่มีอยู่เดิมที่บ้านเกิด เช่น ภูมิปัญญาท้องถิ่น ฐานทรัพยากรธรรมชาติ วัฒนธรรม และอื่นๆ พร้อมการทำงานร่วมกับคนในชุมชนในการสร้างความเติบโตและความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจชุมชนท้องถิ่น
 

 

'ทิวา สัมฤทธิ์' เจ้าของร้าน Decandra

“เมื่อก่อนเราคิดถึงตัวเองเป็นหลัก แต่พอหลังจากนั้นเราก็เริ่มคิดถึงคนอื่นมากขึ้น มองโลกมากขึ้น และคิดว่าถ้าเรายังมีชีวิตอยู่ อย่างน้อยได้ทำประโยชน์ให้โลกสักนิดก็ยังดี ก็ไม่เสียที่ให้ให้ชีวิตมาอีกรอบหนึ่ง”

 

“เราเลือกทำร้านที่บ้านเกิด เราก็คิดว่าจะเชื่อมโยงกับชุมชนคนรอบข้างหรือสินค้าทางการเกษตรอย่างไรได้บ้าง มันเลยเป็นที่มาว่าเราอยากใช้วัตถุดิบในท้องถิ่น อย่างคนขายของในตลาดตอนนี้ก็เป็นคนมีอายุแล้ว เขามีผักอยู่ไม่กี่อย่าง บางทีเราไปซื้อผักของเขา 10 - 20 บาท เขาก็รู้สึกมีความสุขแล้ว ซึ่งนั่นคือสิ่งที่เราอยากทำ คือสนับสนุนให้เขาได้ปลูกและอยู่ได้”

ทิวา สัมฤทธิ์
เจ้าของร้าน Decandra
ต.เขาพระ อ.เดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี
 

อ่านเรื่องราวของ ‘เชฟทิวา’ เชฟเทเบิ้ลสุพรรณฯ เกื้อหนุนเศรษฐกิจท้องถิ่น

 

 

'การะเกต์ ศรีปริญญาศิลป์' เจ้าของ ‘สิริเมืองพร้าว’ 


เดิมเราเคยคิดว่าคงไม่ได้กลับมาอยู่เชียงใหม่อีก เพราะชีวิตเดินทางไปไกล ชีวิตที่กรุงเทพฯ ก็ลงตัวเยอะ หลังจากพ่อเริ่มแก่ก็กลับมาดูแลพ่อ พ่อก็พูดว่าทำยังไงบ้านเราจะมีความเจริญก้าวหน้าขึ้นมา มันเป็นสิ่งที่ทำให้เราคิดนะว่า ถ้าเรามาอยู่บ้าน เราจะทำอะไรได้บ้าง

“สิ่งหนึ่งที่เป็นธีมของสิริเมืองพร้าว คือการที่จะบอกว่า ท่ามกลางข้อจำกัดต่างๆ มันมีสิ่งที่เป็นไปได้ พื้นที่สิริเมืองพร้าวสำหรับเรา สิ่งที่เราขายคือ ชุดประสบการณ์และแรงบันดาลใจ เราอยากให้เห็นว่าพื้นที่แบบนี้ ที่ไหนก็ตามในท้องถิ่น เราสามารถสร้างสิ่งเหล่านี้ขึ้นมาได้ ถ้าเรามีความตั้งใจ หรือมีความเข้าใจรากเหง้าของเรา ที่เราสามารถสร้างสิ่งต่างๆ ขึ้นมาได้"
 

 

"ตอนนี้เรามาทำธุรกิจในท้องถิ่นชุมชน สิ่งแรกก็คือ เราจะอยู่ร่วมกับชุมชนได้อย่างไร เรามองว่าไม่ควรเบียดเบียนทรัพยากรของคนอื่น คนท้องถิ่นชุมชนมาทำงานกับเรา เขาก็มีรายได้ และเราสามารถไปด้วยกันได้ อันนี้คือความตั้งใจเลยนะ เราพยายามใช้สิ่งที่เราปลูกเอง อะไรที่เราไม่ได้ปลูกก็ซื้อจากชุมชนพื้นถิ่น พูดง่ายๆ คือซื้อของจากในหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ มันไม่ใช่การขายความเป็นชุมชนโดยที่ทำลายจิตวิญญาณของเขาไป หรือขายชาวบ้านเป็นพร็อพ เราก็พยายามทำให้สิริเมืองไปได้โดยที่ชุมชนมีส่วนร่วม”

การะเกต์ ศรีปริญญาศิลป์
เจ้าของ ‘สิริเมืองพร้าว’บ้านท่ามะเกี๋ยง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
 

อ่านเรื่องราวของ ‘สิริเมืองพร้าว’ จากรากเหง้า สู่ธุรกิจเพื่อสังคม และเศรษฐกิจชุมชน

 

 

นันท์ณภัส กมลสิรินันทิตา เจ้าของ ‘ใส่ซัมบาย’


“เราแบบมีเชื้อสายลาว ปลูกคราม ปลูกฝ้าย ย้อมผ้าทอใส่เอง ก็เพิ่งรู้ว่าทวดเคยย้อมครามมาก่อน...ช่วงที่หายไปเลยก็คือ ช่วงที่มีสีผง สีซองเข้ามาแทนที่...ถามว่าทำไมถึงมาย้อมคราม...ครามไม่ได้แต่ทางอีสานเหรอ เราก็บอกสมัยก่อนที่นี่ก็มี แค่มันหายไป ก็อยากให้คนรู้ว่าในโซนอำเภอของเรา มีการย้อมครามมาก่อนนะ"

“ตอนนี้ทำผลิตภัณฑ์หลักๆ ก็คือ เป็นครามจากธรรมชาติ น้ำด่างก็ใช้จากขี้เถ้า กรดก็ใช้จากมะขามเปียก เป็นธรรมชาติร้อยเปอร์เซ็นต์"

 

“ถ้าคนอยากทำธุรกิจ ต้องเอาสิ่งที่เราสนใจ และมันทำเงินให้เราได้ ไม่ใช่ว่าบางอันชอบแต่ทำเงินไม่ได้ แต่ก็อยากให้ลองแหละ การลงมือก็ดีกว่าไม่ลงมือ ถ้าเราคิดแล้วยังไม่ลงมือทำ ก็ไม่รู้ว่าจะสำเร็จหรือไม่สำเร็จ”

นันท์ณภัส กมลสิรินันทิตา
เจ้าของธุรกิจผ้าย้อมครามจากสีและวัสดุธรรมชาติ แบรนด์ ‘ใส่ซัมบาย’
ต.ห้วยแห้ง อ.บ้านไร่ จ.อุทัยธานี
 

 อ่านเรื่องราวของ คนรุ่นใหม่ย้อมผ้าธรรมชาติ ฟื้นลมหายใจวิถีชุมชน

 

นีรัญชรา ปฏิกานัง เจ้าของร้าน Pizza the Gang 
 

 

“ร้านพิซซ่าเล็กๆ จะอยู่ได้ยาวต้องสร้างจุดขาย พี่เลือกใช้ทุนในชุมชนมาเป็นจุดขาย เรามีของอะไรบ้างที่ชุมชนทำอยู่แล้ว ของสดอย่าง ผักขม มะเขือเทศ เห็ด ของแปรรูปอย่างกุนเชียง หมูหยอง พี่เอาทั้งหมดนี้มาเป็นวัตถุดิบหลัก เวลาคนเห็นว่าเป็นพิซซ่าหน้ากุนเชียง หน้าหมูหยอง เขาจะนึกถึงพิซซ่าร้านเรา นึกถึงบ้านไผ่”

นีรัญชรา ปฏิกานัง
เจ้าของร้าน Pizza the Gang อ.บ้านไผ่ จ.ขอนแก่น
 

อ่านเรื่องราวของ ร้าน PIZZA The GANG ร้านพิซซ่าชุมชนที่ใช้วัตถุดิบจาก ‘บ้านไผ่’ ใส่ในหน้าพิซซ่า




 

 

เมื่อ ‘คนรุ่นใหม่กลับบ้าน’ ต่อยอด ‘ทุนท้องถิ่น’ สร้างเศรษฐกิจชุมชน
เมื่อ ‘คนรุ่นใหม่กลับบ้าน’ ต่อยอด ‘ทุนท้องถิ่น’ สร้างเศรษฐกิจชุมชน
เมื่อ ‘คนรุ่นใหม่กลับบ้าน’ ต่อยอด ‘ทุนท้องถิ่น’ สร้างเศรษฐกิจชุมชน
เมื่อ ‘คนรุ่นใหม่กลับบ้าน’ ต่อยอด ‘ทุนท้องถิ่น’ สร้างเศรษฐกิจชุมชน
เมื่อ ‘คนรุ่นใหม่กลับบ้าน’ ต่อยอด ‘ทุนท้องถิ่น’ สร้างเศรษฐกิจชุมชน
เมื่อ ‘คนรุ่นใหม่กลับบ้าน’ ต่อยอด ‘ทุนท้องถิ่น’ สร้างเศรษฐกิจชุมชน
เนื้อหาล่าสุด