Skip to main content

บางประสบการณ์จากคนทำ ‘เกษตรอินทรีย์’

16 สิงหาคม 2567

 

อุ้มฮุ่มโฮมสเตย์ อ.ฝาง จ. เชียงใหม่


สองสามีภรรยา อุ้ม- คณาภรณ์ ธนูธรรมเจริญ และ นุ้ย- กนกวรรณ ศรีสัจจากุล ตัดสินใจทิ้งชีวิตในกรุงเทพฯ เพื่อกลับมาใช้ชีวิตที่บ้าน อ.ฝาง จ. เชียงใหม่ 

ทั้งคู่ค่อยๆ เริ่มเปลี่ยนที่ดินที่มีอยู่แค่จำนวนไม่กี่ไร่ ให้กลายเป็นสวนเกษตรอินทรีย์แบบพึ่งตนเอง ปลูกไว้กิน ปลูกไว้ใช้ และค่อยๆ พัฒนามาทำเกษตรอินทรีย์แบบเต็มตัว โดยช่วงแรกเริ่มทีละน้อยๆ พร้อมไปกับหาความรู้

นุุ้ยอธิบายว่า เป็นช่วงวัดใจเลยก็ว่าได้ เพราะการทำเกษตรอินทรีย์ต้องใช้เวลาและต้นทุนที่สูงกว่าเกษตรเคมีทั่วไป กว่าผลผลิตจะออกให้เห็น สวนเริ่มมีความมั่นคง อย่างน้อยต้องมีเวลา 3 ปี ซึ่งหลายคนไม่สามารถรอได้ ทั้งคู่อธิบายว่าเข้าใจเงื่อนไขเรื่องนี้เป็นอย่างดี เพราะก่อนตัดสินใจกลับบ้านได้วางแผนมาแล้วว่า ช่วงสามปีแรกเราต้องการอะไร และแผนถัดจากนั้นคืออะไร

จากสวนปลูกกินเอง เริ่มขยายออกดอกผล มีนาข้าวและสวนผลไม้ออร์แกนิค แต่ความตั้งใจของทั้งคู่ยังมีมากกว่านั้น พวกเขาต้องการสร้างป่าคืนให้แก่โลก เพื่อเป็นแหล่งต้นน้ำและทรัพยากรให้ชุมชน โดยแบ่งพื้นที่ครึ่งหนึ่งของที่ดินทั้งหมดปลูกเป็นป่าผสมผสาน ปลูกไม้ต้นให้ร่มเงา ไม้ผลที่อยากรับประทานในลักษณะของป่า 9 ชั้น

อ่านเรื่องราวของ อุ้มฮุ่มโฮมสเตย์
 


แก้วพะเนาว์ Organic Farm จ.มหาสารคาม


พงษ์- พงษ์พัฒน์ แก้วพะเนาว์ เจ้าของฟาร์มเกษตร ‘แก้วพะเนาว์ organic farm’ มาจากครอบครัวที่พ่อแม่เป็นเกษตรกรในชนบท เขามีความฝันว่าอยากทำการเกษตรเหมือนที่บ้าน และตั้งใจที่จะเข้าเรียนมหาวิทยาลัยในคณะที่เกี่ยวกับการเกษตร ในตอนนั้นไม่ว่าจะเป็นญาติ หรือคนรู้จัก ต่างก็ตั้งคำถามกับความฝันของพงษ์ว่า เป็นฝันที่ดูไม่มีอนาคต รายได้ไม่ดี ต้องเหนื่อยตากแดดตากลม และราคาผลผลิตก็ไม่สามารถควบคุมได้

ระหว่างที่เรียนอยู่คณะเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เขามีโอกาสไปเรียนด้านเกษตรที่ประเทศอิสราเอล ประเทศอันดับต้นของโลกด้านเทคโนโลยีการเกษตร และกลายเป็นจุดเริ่มต้นให้เขาตั้งใจจะทำเกษตรด้วยเทคโนโลยีและความรู้ที่ได้เก็บเกี่ยวมา

แต่เนื่องจากผืนดินของภาคอีสานเป็นดินทราย และอากาศร้อน ชาวสวนแบบดั้งเดิมมักจะปลูกตามสภาพอากาศ และใส่ปุ๋ยเคมีเริ่งผลผลิต แต่พงษ์บอกว่า เราสามารถจำลองสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมขึ้นมาได้  เช่น ผักชี ต้นหอม ซึ่งมีราคาสูงและเป็นที่ต้องการทั้งปี แต่ปลูกไม่ได้ในภาคอีสาน แต่ถ้ามีความรู้เราสามารถปลูกได้ทุกฤดู ถ้ารู้ค่าแสงและวัดค่าแสงที่ถูกต้องได้ ก็จะรู้ว่าค่าแสงแบบไหนจะทำให้หอมมีใบที่ใหญ่ ซึ่งชาวบ้านไม่มีความรู้ตรงนี้

ผลของการใช้ความรู้ และหลักวิทยาศาสตร์มาทำการเกษตร ทำให้ไร่ของพงษ์ มีผลผลิตจำหน่ายตลอดทั้งปี และเริ่มขยายพื้นที่กว้างขึ้นเรื่อยๆ ชาวบ้านในหมู่บ้าน จากเดิมที่เคยตั้งคำถามก็เริ่มหันมาให้ความสนใจถึงวิธีการทำการเกษตรแนวใหม่

อ่านเรื่องราวของ แก้วพะเนาว์ Organic Farm


 

บางประสบการณ์จากคนทำ ‘เกษตรอินทรีย์’
บางประสบการณ์จากคนทำ ‘เกษตรอินทรีย์’
บางประสบการณ์จากคนทำ ‘เกษตรอินทรีย์’
บางประสบการณ์จากคนทำ ‘เกษตรอินทรีย์’
เนื้อหาล่าสุด