Skip to main content

สวัสดิการผู้สูงอายุ: สิทธิและสวัสดิการที่รัฐจัดหาให้เมื่ออายุ 60 ปี

28 กรกฎาคม 2567

เมื่อคนไทยก้าวเข้าสู่วัยผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป รัฐบาลไทยได้จัดสรรสวัสดิการและสิทธิพิเศษหลายประการเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีของผู้สูงอายุ โดยสามารถแบ่งออกเป็นทั้งหมด 16 เรื่อง ดังนี้:

1. เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ

รัฐจัดสรรเบี้ยยังชีพให้ผู้สูงอายุทุกคนตามช่วงอายุแบบขั้นบันได:

  • อายุ 60-69 ปี: ได้รับ 600 บาทต่อเดือน
  • อายุ 70-79 ปี: ได้รับ 700 บาทต่อเดือน
  • อายุ 80-89 ปี: ได้รับ 800 บาทต่อเดือน
  • อายุ 90 ปีขึ้นไป: ได้รับ 1,000 บาทต่อเดือน

2. ลดราคาค่าโดยสาร

ผู้สูงอายุได้รับส่วนลดค่าโดยสาร 50% สำหรับรถโดยสารประจำทาง เรือโดยสาร และรถไฟในช่วงวันที่ 1 มิถุนายนถึง 30 กันยายนของทุกปี โดยต้องแสดงบัตรประชาชน

3. ลดหย่อนภาษี

บุตรที่เลี้ยงดูบิดามารดาสามารถขอลดหย่อนภาษีจำนวน 30,000 บาทต่อผู้สูงอายุ 1 คนต่อปี

4. กู้ยืมเงินทุนประกอบอาชีพ

ผู้สูงอายุที่ยังสามารถประกอบอาชีพได้แต่ไม่มีเงินทุน สามารถกู้ยืมเงินปลอดดอกเบี้ยจากกองทุนผู้สูงอายุได้ วงเงินไม่เกิน 30,000 บาทต่อคนสำหรับรายบุคคล และไม่เกิน 100,000 บาทสำหรับรายกลุ่ม

5. ปรับสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวกที่อยู่อาศัย

ผู้สูงอายุสามารถขอรับการปรับสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวกที่อยู่อาศัยจากกรมพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในอัตราเหมาจ่าย 22,500 บาท หรือ 40,000 บาท

6. สิทธิทางอาชีพ

กรมการจัดหางานและสำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครให้บริการให้คำปรึกษา แนะนำ และรับสมัครงานสำหรับผู้สูงอายุ

7. สิทธิเข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวก

ผู้สูงอายุสามารถเข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวกในพื้นที่สาธารณะ เช่น ลิฟต์ ราวบันได ทางลาด ที่จอดรถ ห้องน้ำ เป็นต้น

8. สิทธิการศึกษา

มีการพัฒนาหลักสูตรบริการทางการศึกษาเพื่อให้ผู้สูงอายุได้เรียนรู้ตลอดชีวิตที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้สูงอายุ

9. สิทธิการแพทย์

ผู้สูงอายุสามารถเข้ารับบริการและดูแลสุขภาพด้านต่าง ๆ เช่น การจัดบริการและดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ การจัดช่องทางพิเศษ และการบำบัดฟื้นฟู

10. สิทธิการช่วยเหลือทางกฎหมาย

กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรมมีบริการให้คำปรึกษา แนะนำ และช่วยเหลือทางกฎหมาย

11. ยกเว้นค่าเข้าชมสถานที่ของรัฐ

ผู้สูงอายุสามารถเข้าชมฟรีสถานที่ของรัฐ เช่น พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ อุทยานแห่งชาติ สวนพฤกษศาสตร์ สวนสัตว์ โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นต้น

12. การทำกิจกรรมโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

ผู้สูงอายุสามารถเข้าร่วมกิจกรรมและใช้บริการสถานกีฬาต่าง ๆ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย หรือได้รับส่วนลดค่าสมัครสมาชิก 50%

13. การสงเคราะห์ช่วยเหลือ

มีบริการช่วยเหลือผู้สูงอายุที่ถูกทารุณกรรม ถูกทอดทิ้ง หรือถูกหาประโยชน์ โดยการนำไปรักษาพยาบาล ดำเนินคดี และจัดหาที่พักอาศัยปลอดภัย

14. การจัดบริการสถานที่ท่องเที่ยว

การจัดกิจกรรมกีฬา และนันทนาการตามที่คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติประกาศกำหนด

15. สิทธิในการเข้ามีส่วนร่วมกิจกรรมในสังคม

ผู้สูงอายุสามารถเข้าร่วมกิจกรรมในชมรมผู้สูงอายุและการถ่ายทอดภูมิปัญญาผู้สูงอายุ

16. การสงเคราะห์ในการจัดการศพตามประเพณี

ผู้สูงอายุที่ยากจนและไม่มีญาติหรือมีญาติแต่ยากจนจะได้รับการช่วยเหลือในการจัดการศพตามประเพณี โดยได้รับเงินช่วยเหลือรายละ 2,000 บาท

สรุปสถิติสำคัญ

10 จังหวัดที่มีผู้สูงอายุรับเบี้ยยังชีพสูงสุด

  1. กรุงเทพมหานคร: 937,422 คน
  2. นครราชสีมา: 469,760 คน
  3. เชียงใหม่: 342,005 คน
  4. ขอนแก่น: 318,808 คน
  5. อุบลราชธานี: 290,711 คน
  6. นครศรีธรรมราช: 266,141 คน
  7. บุรีรัมย์: 265,472 คน
  8. ศรีสะเกษ: 250,368 คน
  9. เชียงราย: 246,167 คน
  10. อุดรธานี: 244,172 คน

 

ภาพโดย sippakorn yamkasikorn จาก Pixabay

10 จังหวัดที่มีผู้สูงอายุรับเบี้ยยังชีพสูงสุด
เนื้อหาล่าสุด