Skip to main content

การพัฒนาเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยวในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา: ความรุ่งเรืองแห่งอดีตสู่อนาคตที่ยั่งยืน

28 กรกฎาคม 2567

พระนครศรีอยุธยาเป็นจังหวัดที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของประเทศไทย ด้วยสถานที่ท่องเที่ยวที่มีความหลากหลายและเป็นเอกลักษณ์ เช่น วัดพระศรีสรรเพชญ์ วัดมหาธาตุ และอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดยองค์การยูเนสโก ทำให้จังหวัดนี้กลายเป็นจุดหมายปลายทางที่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติไม่ควรพลาด

ผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยว

การท่องเที่ยวในพระนครศรีอยุธยาเป็นแหล่งรายได้หลักที่ส่งผลให้เศรษฐกิจของจังหวัดเติบโตอย่างรวดเร็ว ในปี 2566 จังหวัดพระนครศรีอยุธยามีนักท่องเที่ยว 10,250,901 คน สร้างรายได้จากการท่องเที่ยวมากกว่า 21,240.06 ล้านบาท สูงกว่าปี 2565 ที่รายได้จากการท่องเที่ยว 12,746.41 เติบโตกว่า 66%

โดยนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มขึ้นถึง 322.95  จากปี 2565 ที่มีเพียง 326,280 คน เป็น 1,380,009 คนในปี 2566

อย่างไรก็ตาม อยุธยาดูจะเป็นเป้าหมายของนักท่องเที่ยวในประเทศมากกว่านักท่องเที่ยวต่างประเทศ จากจำนวนผู้ท่องเที่ยวชาวไทย 7,607,278 คนในปี 2565 เพิ่มขึ้นเป็น 8,870,892 คนในปี 2566 เติบโตขึ้น 16.61  %

การเพิ่มขึ้นนี้เป็นผลมาจากการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวก การจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยว และการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวต่างชาติหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19

แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์

สอดคล้องกับตัวเลขนักท่องเที่ยวในประเทศหลายล้านคนต่อปี พระนครศรีอยุธยาเป็นที่รู้จักกันดีในฐานะเมืองเก่าที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน นักท่องเที่ยวสามารถเยี่ยมชมวัดวาอาราม โบราณสถาน และพิพิธภัณฑ์ต่างๆ ที่สะท้อนถึงความรุ่งเรืองในอดีตของอยุธยา นอกจากนี้ ยังมีการจัดกิจกรรมเชิงวัฒนธรรม เช่น การแสดงศิลปะ การแสดงดนตรี และการจัดงานประเพณีต่างๆ ที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาเยือนอยู่เสมอ

การพัฒนาที่ยั่งยืน

การพัฒนาเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยวในพระนครศรีอยุธยาไม่เพียงแต่เน้นการเพิ่มจำนวนรายได้เท่านั้น แต่ยังคำนึงถึงการพัฒนาที่ยั่งยืนด้วย โดยมีการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เช่น การใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างรู้คุณค่า การรักษาความสะอาดของสถานที่ท่องเที่ยว และการสร้างความเข้าใจให้กับนักท่องเที่ยวเกี่ยวกับการรักษาสิ่งแวดล้อม

ภาพโดย Sasin Tipchai จาก Pixabay

เนื้อหาล่าสุด