Skip to main content

หนึ่งเดียวในโลกแต่งงาน "อึ่งอ่าง" สินสอดนับล้าน วางเป้าอนุรักษ์ธรรมชาติ

15 กรกฎาคม 2567

ชาวตำบลหนองข่าจัดงานกิจกรรมคืนความรักสู่ธรรมชาติในปีนี้มาต่อเนื่องเป็นปีที่ 8 สุดคึกคักกว่าทุกปี ในการทำพิธีขบวนแห่ขันหมากจัดพิธีแต่งงานอึ่งอ่าง เจ้าบ่าวมาจาก สปป.ลาว ส่วนอึ่งเจ้าสาวเป็นของไทย สินสอดมากกว่า 50 ล้านบาท 

นายอนันต์ นาคนิยม ผู้ว่าฯ จ.ชัยภูมิ พร้อมด้วย นายซีกวน ฤาชา นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองข่า ชาวบ้านในพื้นที่กว่า 12 หมู่บ้าน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในพื้นที่ อ.เกษตรสมบูรณ์ จ.ชัยภูมิ ได้ร่วมใจกันจัดงานแต่งงานอึ่งอ่างหนึ่งเดียวในโลก เพื่อเป็นการคืนสัตว์ประเภทครึ่งบกครึ่งน้ำคืนความรักสู่ธรรมชาติ เป็นที่ 8 หรือ เป็นครั้งที่ 8 ของปี 2567

โดยขบวนแห่ขันหมากจากทางฝ่ายอึ่งเพศผู้ซึ่งเป็นเจ้าบ่าว ที่มาจากประเทศเพื่อนบ้าน สปป.ลาว เข้าสู่พิธีสู่ขออึ่งเพศเมีย ซึ่งเป็นเจ้าสาวของประเทศไทย ไปรอบบริเวณป่าชุมชนภูกระแต เขตอภัยทานในวัดของหมู่บ้านโนนศิลา หมู่ 9 ต.หนองข่า อ.เกษตรสมบูรณ์ จ.ชัยภูมิ 

ได้จัดแห่ขบวนขันหมากประเพณีแต่งงานอึ่งหนึ่งเดียวในโลกในปีนี้ อย่างยิ่งใหญ่เข้าสู่บริเวณจัดงาน ที่มีการนำขบวนแห่โดยท้องถิ่นจังหวัดชัยภูมิ  พร้อมเงินสินสอดรวมจำนวน 50 ล้านบาท ทองคำหนักรวม 20 บาท แต่เป็นเงินและทองคำปลอม ซึ่งมีเงินจริงบางส่วนรวมนับหลักหมื่นบาท

บรรยากาศระหว่างขบวนแห่ขันหมากเจ้าบ่าวอึ่งเพศผู้ จาก สปป.ลาว ชื่อท้าวคำหล่วง กับ อึ่งสาวเพศเมียของไทย ใน ต.หนองข่า อ.เกษตรสมบูรณ์ จ.ชัยภูมิ โดยมีชาวบ้านจากทุกหมู่บ้านใน ต.หนองข่า รวมทั้ง 12 หมู่บ้าน นับหลายพันคน เพื่อแห่รอบเขตป่าชุมชนภูกระแต อำเภอเกษตรสมบูรณ์ จ.ชัยภูมิ ในการที่จะเป็นการช่วยกันรณรงค์ร่วมมือกันของชาวบ้านทุกพื้นที่ช่วยกันฟื้นฟูสภาพพื้นที่ป่าชุมชนภูกระแต ของตำบลหนองข่า ซึ่งมีพื้นที่ประมาณกว่า 6,700 ไร่ ที่เสื่อมโทรมมานานหลายปีให้กับคือมาเกิดความสมบูรณ์ได้จนปัจจุบัน

ทั้งต้นไม้ที่ถูกตัดทำลาย สัตว์ป่าหลายชนิดได้สูญหายจากธรรมชาติ ให้กลับมาคืนความอุดมสมบูรณ์ให้กับธรรมชาติ โดยชาวบ้านในพื้นที่ที่อดีตที่ผ่านมา อึ่งอ่างเป็นสัตว์ประเภทครึ่งบกครึ่งน้ำที่มีอยู่ในพื้นที่จำนวนมาก และเป็นอาหารพื้นบ้านของชาวอีสานมายาวนานได้สูบพันธุ์หายไปจากพื้นที่ ชาวบ้านที่นี่รวมทั้งผู้นำชุมชนจึงได้จัดหาอึ่งอ่าง นานาชนิดที่สูญหายไปจากชุมชนจำนวนมาก 

รวมทั้ง กบ เขียด เต่า ปลาไหล และอื่น ๆ มาปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ เพื่อให้พื้นที่วัดในเขตป่าภูกระแตเป็นเขตอภัยทาน ให้ชาวบ้านงดการเข้ามาจับสัตว์ในจุดนี้เด็ดขาดมาต่อเนื่องกว่า 8 ปี ที่ผ่านมาจนปัจจุบัน ที่มีการจัดงานแต่งงานอึ่งอ่าง กบ เขียด นำมาปล่อยคืนสู่ธรรมชาติในจุดนี้มาต่อเนื่องเป็นปีที่ 8 แล้วในปีนี้ จนธรรมให้ธรรมชาติในจุดนี้กลับคืนมาตามเดิมมาได้จนปัจจุบัน

ไฮไลน์ของงานแต่งงานอึ่งเจ้าบ่าวจาก สปป.ลาว และเจ้าสาว ของประเทศไทย ในปีนี้ สร้างความสนุกสนาน ความแปลกที่หาดูไม่ได้จากที่อื่นที่ต้องบอกว่ามีหนึ่งเดียวในโลกในปัจจุบันก็ว่าได้ ที่ปีนี้เริ่มจากการแห่ขบวนขันหมาก ของเจ้าบ่าวอึ่ง ออกจากวัดเชิงบรรพต บ้านท่าคร้อ เข้าสู่บริเวณจุดเพื่อใช้จัดงานแต่งงานแต่งอึ่งในเขตป่าชุมชนภูกระแต หมู่ 9 บ้านโนนศิลา ต.หนองข่า อ.เกษตรสมบูรณ์ จ.ชัยภูมิ ในปีนี้ชาวบ้านได้นำอึ่งเข้ามาร่วมจำนวน 250 คู่ และป้องกันไม่ให้อึ่งอ่างกระโดดออกจากโถแก้ว เหมือนปีที่ผ่านมา ที่ทำให้ขบวนแห่ขันหมากต้องพากันวิ่งไล่จับอึ่งมาใส่โถแก้ว เพื่อนำเข้าสู่พิธีแต่งงานก่อนนำไปปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ

ก่อนที่ขบวนแห่ขันหมากเจ้าบ่าวอึ่งจาก สปป.ลาว ต้องแห่ผ่านประตูเงิน ประตูทอง ซึ่งต้องมีการเจรจา จ่ายค่าผ่านเปิดประตูเงิน ประตูทองก่อน จึงยอมเปิดประตูเข้าสู่บริเวณพิธีจัดการแต่งงาน เริ่มจากพิธีสู่ขอ การตรวจนับสินสอด ต่อด้วยพิธีหมอสู่ขวัญ ได้ทำพิธีบายสีสู่ขวัญให้กับอึ่งคู่บ่าวสาว ต่อด้วยการผูกข้อต่อแขนคู่บ่าวสาวอึ่ง เหมือนแต่งานคนแบบไหนแบบนั้นไม่มีผิด

ผู้ว่าฯ ชัยภูมิ กล่าวว่า ได้นำผูกข้อมือ ต่อแขน เจ้าบ่าวเจ้าสาวอึ่งอ่าง เหมือนคน เพื่อส่งเสริมประเพณีอันดีงามกับโครงการดีๆ ของโครงการคืนความรักสู่ธรรมชาติ ก่อนที่ผู้ว่าฯ ยังได้ลงนามในใบทะเบียนสมรสยักษ์ ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย หรือที่สุดในโลกอีกด้วยในปีนี้ เพื่อเป็นหลักฐานให้กับคู่บ่าวสาวอึ่ง ที่ชาวบ้าน อ.เกษตรสมบูรณ์ ก่อนที่จะเป็นอันเสร็จพิธีจัดงานแต่งงานอึ่งหนึ่งเดียวในโลกปีนี้ เพื่อจะส่งตัวเจ้าบ่าว เจ้าสาวเข้าเรือนหอ และทุกคนที่มาในงานในปีนี้ต่างก็มีการน้ำสัตว์นานาชนิดที่เป็นครึ่งบกครึ่งน้ำ มาร่วมกิจกรรมปล่อยสู่หนองแห่งน้ำ ในพื้นทีพื้นที่ป่าชุมชนภูกระแต ให้เกิดการขยายพันธุ์ตามธรรมชาติ และเป็นการคืนผืนป่าให้ชุมชนมีความอุดมสมบูรณ์อย่างยั่งยืนต่อไป
 

แต่งงาน
แต่งงาน
แต่งงาน
แต่งงาน
แต่งงาน
แต่งงาน
แต่งงาน
แต่งงาน
แต่งงาน
แต่งงาน
เนื้อหาล่าสุด