Skip to main content

10 บริษัทรายได้รวมสูงสุด สะท้อนเศรษฐกิจ “จังหวัดตราด” ปี พ.ศ.2565

12 มิถุนายน 2567
  • จังหวัดตราดเป็นจังหวัดชายฝั่งทะเลทางภาคตะวันออกของประเทศไทย เป็นจังหวัดที่มีเกาะมากมายหลายเกาะ มีประชากรทั้งหมด 227,808 คน
  • ในปี พ.ศ.2564 จังหวัดตราดมีมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัด (Gross Provincial Product หรือ GPP) อยู่ที่ 44,027 ล้านบาท และมีผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดต่อหัว (GPP per capita) เฉลี่ยอยู่ที่ 160,025 บาท

 

จังหวัดตราดเป็นจังหวัดชายฝั่งทะเลทางภาคตะวันออกของประเทศไทย เป็นจังหวัดที่มีเกาะมากมายหลายเกาะ และมีเกาะช้างเป็นเกาะสำคัญของจังหวัด รวมถึงเกาะกูด เกาะหมาก และเกาะกระดาด เป็นต้น ทั้งนี้ คำว่าตราดสันนิษฐานว่าเพี้ยนมาจากคำว่า “กราด” ซึ่งเป็นชื่อของต้นไม้ชนิดหนึ่งที่ใช้ทำไม้กวาด และเป็นต้นไม้ที่ขึ้นอยู่รอบเมืองตราด

จังหวัดตราดถือเป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่ตั้งอยู่บนเส้นทางแนวระเบียงเศรษฐกิจชายฝั่งตอนใต้ ตามแนวเส้นทางพื้นที่เศรษฐกิจตอนใต้ และถือเป็นจังหวัดที่มีศักยภาพสูงในด้านเกษตรกรรม ผลิตผลจากการเกษตร และกิจกการบริการและสาธารณูปโภค โดยในปี พ.ศ.2564 จังหวัดตราดมีมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัด (Gross Provincial Product หรือ GPP) อยู่ที่ 44,027 ล้านบาท และมีผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดต่อหัว (GPP per capita) เฉลี่ยอยู่ที่ 160,025 บาท ทั้งนี้ 10 บริษัทที่สามารถทำรายได้สูงสุดของจังหวัดตราด ประจำปี พ.ศ.2565[1] มีดังต่อไปนี้

อันดับที่ 1: บริษัท สมิงฟูดส์ จำกัด

บริษัท สมิงฟูดส์ จำกัด จัดเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ ในหมวด C การผลิต และเป็นธุรกิจในกลุ่ม 10302 การผลิตผลไม้และผักบรรจุกระป๋อง โดยมีรายได้รวมทั้งหมด ในปี พ.ศ.2565 จำนวน 2,079,193,112 บาท และมีการเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว (YoY) ลดลง 1.94%

อันดับที่ 2: บริษัท สุขสมบูรณ์ น้ำมันปาล์ม บ่อไร่ จำกัด

บริษัท สุขสมบูรณ์ น้ำมันปาล์ม บ่อไร่ จำกัด คือธุรกิจขนาดใหญ่ ถูกจัดให้อยู่ในหมวด C การผลิต และเป็นหนึ่งในกลุ่มธุรกิจ 10420 การผลิตน้ำมันปาล์ม ซึ่งในปี พ.ศ.2565 บริษัทสามารถทำรายได้รวมได้ทั้งหมด 1,840,214,312 บาท ขณะที่การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว (YoY) เพิ่มขึ้น 29.06%

อันดับที่ 3: บริษัท ระย่อมเทรดดิ้ง จำกัด

บริษัท ระย่อมเทรดดิ้ง จำกัด ถือเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ อยู่ในหมวด G การขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์ และอยู่ในกลุ่มธุรกิจ 46321 การขายส่งเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ มีรายได้รวมทั้งหมดประจำปี พ.ศ.2565 อยู่ที่ 824,513,477 บาท ซึ่งเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว (YoY) เพิ่มขึ้น 15.90%

อันดับที่ 4: บริษัท อีซูซุตราดเซลส์

บริษัท อีซูซุตราดเซลส์ คือธุรกิจขนาดใหญ่ ในหมวด G การขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์ และเป็นธุรกิจในกลุ่ม 45101 การขายยานยนต์ใหม่ชนิดรถยนต์นั่งส่วนบุคคล รถกระบะ รถตู้ และรถขนาดเล็กที่คล้ายกัน โดยปี พ.ศ.2565 บริษัทมีรายได้รวมทั้งหมด 715,856,725 บาท และมีการเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว (YoY) เพิ่มขึ้น 30.06%

อันดับที่ 5: บริษัท ดีเซฟ ค้าส่ง จำกัด

บริษัท ดีเซฟ ค้าส่ง จำกัด จัดเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ ที่อยู่ในหมวด G การขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์ และอยู่ในกลุ่มธุรกิจ 46900 การขายส่งสินค้าทั่วไป ซึ่งมีรายได้รวมทั้งหมด ในปี พ.ศ.2565 อยู่ที่ 665,067,327 บาท มีการเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว (YoY) เพิ่มขึ้น 5.43%

อันดับที่ 6: บริษัท โรงพยาบาลกรุงเทพตราด จำกัด

บริษัท โรงพยาบาลกรุงเทพตราด จำกัด ถูกจัดให้เป็นธุรกิจขนาดใหญ่ ที่อยู่ในหมวด Q กิจกรรมด้านสุขภาพและงานสังคมสงเคราะห์ และอยู่ในกลุ่มธุรกิจ 86191 กิจกรรมโรงพยาบาล โดยมีรายได้รวมทั้งหมด จากปี พ.ศ.2565 อยู่ที่ 649,059,284 บาท ซึ่งเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว (YoY) เพิ่มขึ้น 26.03%

อันดับที่ 7: บริษัท เข้าท่า จำกัด

บริษัท เข้าท่า จำกัด คือธุรกิจขนาดใหญ่ ถูกจัดไว้ในหมวด G การขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์ และเป็นธุรกิจในกลุ่ม 47300 การขายปลีกเชื้อเพลิงยานยนต์ในร้านค้าเฉพาะ สถานี ปั๊ม ซึ่งรายได้รวมของบริษัทในปี พ.ศ.2565 อยู่ที่ 556,875,290 บาท ขณะที่การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว (YoY) เพิ่มขึ้น 111.39%

อันดับที่ 8: บริษัท โตโยต้าตราดผู้จำหน่ายโตโยต้า จำกัด

บริษัท โตโยต้าตราดผู้จำหน่ายโตโยต้า จำกัด คือธุรกิจขนาดใหญ่ ในหมวด G การขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์ และเป็นหนึ่งในกลุ่มธุรกิจ 45101 การขายยานยนต์ใหม่ชนิดรถยนต์นั่งส่วนบุคคล รถกระบะ รถตู้ และรถขนาดเล็กที่คล้ายกัน รายได้รวมของบริษัทประจำปี พ.ศ.2565 คือ 509,171,650 บาท และมีการเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว (YoY) เพิ่มขึ้น 18.72%

อันดับที่ 9: บริษัท ศิริโภชย์

บริษัท ศิริโภชย์ จัดเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ ที่อยู่ในหมวด G การขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์ และเป็นธุรกิจในกลุ่ม 46699 การขายส่งผลิตภัณฑ์อื่นๆ ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น โดยปี พ.ศ.2565 บริษัทสามารถทำรายได้รวมได้ทั้งหมด 496,304,996 บาท ซึ่งเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว (YoY) ลดลง 4.53%

อันดับที่ 10: บริษัท พงศ์ธนกร

บริษัท พงศ์ธนกร เป็นธุรกิจขนาดใหญ่ ในหมวด G การขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์ และเป็นธุรกิจในกลุ่ม 46699 การขายส่งผลิตภัณฑ์อื่นๆ ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น มีรายได้รวมทั้งหมดในปี พ.ศ.2565 อยู่ที่ 486,290,792 บาท และมีการเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว (YoY) เพิ่มขึ้น 15.87%

 


[1] ข้อมูลจากเว็บไซต์ Creden Data (https://data.creden.co/

เนื้อหาล่าสุด