- จังหวัดฉะเชิงเทราเป็นจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันออกของประเทศไทย และยังมีอีกชื่อที่นิยมเรียกกัน คือ “แปดริ้ว” โดยจังหวัดฉะเชิงเทรามีประชากรทั้งหมด 726,687 คน
- ปี พ.ศ.2564 จังหวัดฉะเชิงเทรามีมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัด (Gross Provincial Product หรือ GPP) อยู่ที่ 400,385 ล้านบาท ขณะที่ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดต่อหัว (GPP per capita) เฉลี่ยอยู่ที่ 457,736 บาท
จังหวัดฉะเชิงเทราเป็นจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันออกของประเทศไทย ส่วนตะวันตกของจังหวัดตั้งอยู่บนที่ราบลุ่มแม่น้ำบางปะกง ส่วนตะวันออกมีลักษณะเป็นเนินเขา จังหวัดฉะเชิงเทรายังมีอีกชื่อที่นิยมเรียกกัน คือ “แปดริ้ว” มาจากคำบอกเล่าในอดีตว่าเป็นเมืองอู่ข้าวอู่น้ำ ในน้ำอุดมสมบูรณ์ด้วยสัตว์น้ำนานาชนิด โดยเฉพาะปลาช่อนที่มีขนาดใหญ่ แล่ออกมาทำปลาแห้งต้องแล่ถึงแปดริ้วนั่นเอง
สำหรับโครงสร้างเศรษฐกิจของจังหวัดฉะเชิงเทรา พบว่าสาขาการผลิตอุตสาหกรรมมีมูลค่าสูงที่สุดหรือมีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจของจังหวัดฉะเชิงเทรามากที่สุด โดยในปี พ.ศ.2564 จังหวัดฉะเชิงเทรามีมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัด (Gross Provincial Product หรือ GPP) อยู่ที่ 400,385 ล้านบาท ขณะที่ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดต่อหัว (GPP per capita) เฉลี่ยอยู่ที่ 457,736 บาท อย่างไรก็ตาม 10 บริษัทที่สามารถทำรายได้สูงสุดของจังหวัดฉะเชิงเทรา ประจำปี พ.ศ.2565[1] มีดังต่อไปนี้
อันดับที่ 1: บริษัท ไมโครชิพ เทคโนโลยี (ไทยแลนด์) จำกัด
บริษัท ไมโครชิพ เทคโนโลยี (ไทยแลนด์) จำกัด คือธุรกิจขนาดใหญ่ ถูกจัดไว้ในหมวด C การผลิต และเป็นธุรกิจในกลุ่ม 27103 การผลิตอุปกรณ์ควบคุมและจ่ายไฟฟ้า โดยในปี พ.ศ.2565 บริษัทมีรายได้รวมทั้งหมด 73,620,822,453 บาท และมีการเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว (YoY) เพิ่มขึ้น 25.85%
อันดับที่ 2: บริษัท ลอยัล ไฮ่เหลียง คอปเปอร์ (ประเทศไทย) จำกัด
บริษัท ลอยัล ไฮ่เหลียง คอปเปอร์ (ประเทศไทย) จำกัด จัดเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ ในหมวด C การผลิต และเป็นหนึ่งในกลุ่มธุรกิจ 24204 การผลิตทองแดงและผลิตภัณฑ์ทองแดง รายได้จากปี พ.ศ.2565 ของบริษัทอยู่ที่ 24,515,082,031 บาท ขณะที่การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว (YoY) เพิ่มขึ้น 22.08%
อันดับที่ 3: บริษัท ทีที ออโตโมทีฟ สตีล (ไทยแลนด์) จำกัด
บริษัท ทีที ออโตโมทีฟ สตีล (ไทยแลนด์) จำกัด ถูกจัดเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ ที่อยู่ในหมวด C การผลิต และอยู่ในกลุ่มธุรกิจ 24109 การผลิตเหล็กและเหล็กกล้าขั้นมูลฐานอื่นๆ ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น ซึ่งในปี พ.ศ.2565 บริษัทสามารถทำรายได้รวมได้ทั้งหมด 21,776,345,469 บาท และมีการเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว (YoY) เพิ่มขึ้น 46.86%
อันดับที่ 4: บริษัท ชิโคนี่ อีเลคทรอนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด
บริษัท ชิโคนี่ อีเลคทรอนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด ถือเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ ในหมวด C การผลิต และเป็นธุรกิจในกลุ่ม 26209 การผลิตอุปกรณ์ต่อพ่วงอื่นๆ ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น ทั้งนี้ รายได้รวมของบริษัทประจำปี พ.ศ.2565 อยู่ที่ 19,759,811,494 บาท ซึ่งเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว (YoY) เพิ่มขึ้น 66.17%
อันดับที่ 5: บริษัท ชาร์พ แอพพลายแอนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด
บริษัท ชาร์พ แอพพลายแอนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด คือธุรกิจขนาดใหญ่ ที่ถูกจัดให้อยู่ในหมวด C การผลิต และเป็นหนึ่งในกลุ่มธุรกิจ 27501 การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดใช้ในครัวเรือน (ยกเว้นประเภทผลิตความร้อนด้วยไฟฟ้า) โดยรายได้ของบริษัท ในปี พ.ศ.2565 มีทั้งหมด 19,142,777,889 บาท และเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว (YoY) เพิ่มขึ้น 3.57%
อันดับที่ 6: บริษัท ซังโกะ ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด
บริษัท ซังโกะ ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด จัดเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ ที่อยู่ในหมวด C การผลิต และเป็นธุรกิจในกลุ่ม 29309 การผลิตชิ้นส่วนและอุปกรณ์เสริมอื่นๆ สำหรับยานยนต์ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น ซึ่งบริษัทมีรายได้รวมทั้งหมด ในปี พ.ศ.2565 อยู่ที่ 17,310,199,093 บาท ขณะที่การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว (YoY) เพิ่มขึ้น 22.08%
อันดับที่ 7: บริษัท ยูนิ. ชาร์ม (ประเทศไทย) จำกัด
บริษัท ยูนิ. ชาร์ม (ประเทศไทย) จำกัด ถูกจัดให้เป็นธุรกิจขนาดใหญ่ ในหมวด C การผลิต และเป็นหนึ่งในกลุ่มธุรกิจ 17091 การผลิตผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปจากกระดาษเพื่อใช้ในครัวเรือนและสุขอนามัย ทั้งนี้ รายได้รวมของบริษัทประจำปี พ.ศ.2565 อยู่ที่ 16,924,473,862 บาท ซึ่งเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว (YoY) เพิ่มขึ้น 6.59%
อันดับที่ 8: บริษัท เจเทคโตะ (ไทยแลนด์) จำกัด
บริษัท เจเทคโตะ (ไทยแลนด์) จำกัด คือธุรกิจขนาดใหญ่ ที่ถูกจัดให้อยู่ในหมวด C การผลิต และเป็นธุรกิจในกลุ่ม 28140 การผลิตตลับลูกปืน เกียร์ และอุปกรณ์ที่ใช้ขับเคลื่อน ซึ่งบริษัทมีรายได้รวมทั้งหมดจากปี พ.ศ.2565 ทั้งสิ้น 15,235,480,483 บาท และมีการเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว (YoY) เพิ่มขึ้น 33.45%
อันดับที่ 9: บริษัท ไอชิน ออโตพาร์ทส์ (ประเทศไทย) จำกัด
บริษัท ไอชิน ออโตพาร์ทส์ (ประเทศไทย) จำกัด ถือเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ อยู่ในหมวด C การผลิต และอยู่ในกลุ่มธุรกิจ 29309 การผลิตชิ้นส่วนและอุปกรณ์เสริมอื่นๆ สำหรับยานยนต์ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น โดยในปี พ.ศ.2565 บริษัทมีรายได้รวมทั้งหมด 14,649,901,203 บาท ขณะที่การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว (YoY) เพิ่มขึ้น 35.06%
อันดับที่ 10: บริษัท โพสโค (ไทยแลนด์) จำกัด
บริษัท โพสโค (ไทยแลนด์) จำกัด คือธุรกิจขนาดใหญ่ ในหมวด G การขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์ และเป็นหนึ่งในกลุ่มธุรกิจ 46622 การขายส่งเหล็ก เหล็กกล้า และโลหะที่นอกกลุ่มเหล็กขั้นมูลฐาน ซึ่งบริษัทมีรายได้ในปี พ.ศ.2565 รวมทั้งหมด 13,704,241,902 บาท ซึ่งเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว (YoY) เพิ่มขึ้น 0.42%
[1] ข้อมูลจากเว็บไซต์ Creden Data (https://data.creden.co/)