Skip to main content

เปิดข้อมูลเศรษฐกิจจังหวัดสมุทรปราการ ประจำปี พ.ศ.2565

12 มิถุนายน 2567
  • จังหวัดสมุทรปราการเป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางของประเทศไทย ลักษณะภูมิประเทศของสมุทรปราการเป็นที่ราบลุ่มทั้งหมด มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านลงสู่อ่าวไทย ปัจจุบันมีประชากรในจังหวัด จำนวนทั้งสิ้น 1,360,227 คน
  • ปี พ.ศ.2565 จังหวัดสมุทรปราการมีผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (Gross Provincial Product หรือ GPP) จำนวน 648,031 ล้านบาท และผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดต่อหัว (GPP per capita) เฉลี่ยอยู่ที่ 283,160 บาท

 

จังหวัดสมุทรปราการเป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางของประเทศไทย และเป็นจังหวัดในเขตปริมณฑลของกรุงเทพมหานคร โดยลักษณะภูมิประเทศของสมุทรปราการเป็นที่ราบลุ่มทั้งหมด มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านลงสู่อ่าวไทย ทั้งนี้ จังหวัดสมุทรปราการมีแหล่งท่องเที่ยวและสถานที่สพคัญหลายแห่ง เช่น สถานบินสุวรรณภูมิ พระสมุทรเจดีย์กลางน้ำ วัดอโศการาม สถานตากอากาศบางปู ตลาดบางน้ำผึ้ง บางกะเจ้า เป็นต้น

ในด้านเศรษฐกิจ จังหวัดสมุทรปราการมีการทำนา ประมง และอุตสาหกรรม โดยในปี พ.ศ.2565 จังหวัดสมุทรปราการมีผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (Gross Provincial Product หรือ GPP) จำนวน 648,031 ล้านบาท และผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดต่อหัว (GPP per capita) เฉลี่ยอยู่ที่ 283,160 บาท ผลิตภัณฑ์จังหวัดสาขาที่มีมูลค่ามากที่สุดคือ อุตสาหกรรม (การผลิต) รองลงมาคือการขนส่ง/คมนาคม และสถานที่เก็บสินค้า และการค้าส่งค้าปลีก ทั้งนี้ 10 บริษัทที่สามารถทำรายได้สูงสุดของจังหวัดสมุทรปราการ ประจำปี พ.ศ.2565[1] มีดังต่อไปนี้

อันดับที่ 1: บริษัท โตโยต้า ไดฮัทสุ เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด

บริษัท โตโยต้า ไดฮัทสุ เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด คือธุรกิจขนาดใหญ่ ที่อยู่ในหมวด G การขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์ และเป็นหนึ่งในกลุ่มธุรกิจ 45302 การขายปลีกชิ้นส่วนและอุปกรณ์เสริมใหม่ของยานยนต์ ซึ่งในปี พ.ศ.2565 บริษัทมีรายได้รวมทั้งหมด 422,293,272,492 บาท ขณะที่การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว (YoY) เพิ่มขึ้น 29.04%

อันดับที่ 2: บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด

บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด จัดเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ ถูกจัดให้อยู่ในหมวด C การผลิต และเป็นธุรกิจในกลุ่ม 29102 การผลิตรถยนต์ส่วนบุคคล ทั้งนี้ ในปี พ.ศ.2565 บริษัททำรายได้รวมได้ทั้งหมด 404,644,631,477 บาท และมีการเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว (YoY) เพิ่มขึ้น 21.60%

อันดับที่ 3: บริษัท อีซูซุมอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด

บริษัท อีซูซุมอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ถือเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ ที่อยู่ในหมวด C การผลิต และเป็นหนึ่งในกลุ่มธุรกิจ 29102 การผลิตรถยนต์ส่วนบุคคล ซึ่งรายได้รวมของบริษัท ประจำปี พ.ศ.2565 มีจำนวนทั้งสิ้น 222,107,618,107 บาท ขณะที่การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว (YoY) เพิ่มขึ้น 35.34%

อันดับที่ 4: บริษัท ซีเกท เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด

บริษัท ซีเกท เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด คือธุรกิจขนาดใหญ่ ถูกจัดไว้ในหมวด C การผลิต และเป็นธุรกิจในกลุ่ม 26209 การผลิตอุปกรณ์ต่อพ่วงอื่นๆ ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น โดยในปี พ.ศ.2565 บริษัทมีรายได้รวมทั้งหมด 180,663,497,886 บาท ซึ่งเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว (YoY) เพิ่มขึ้น 8.35%

อันดับที่ 5: บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) จัดเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ ในหมวด C การผลิต และเป็นหนึ่งในกลุ่มธุรกิจ 27103 การผลิตอุปกรณ์ควบคุมและจ่ายไฟฟ้า ซึ่งบริษัทมีรายได้รวมทั้งหมดจากปี พ.ศ.2565 จำนวนทั้งสิ้น 105,207,029,814 บาท มีการเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว (YoY) เพิ่มขึ้น 45.35%

อันดับที่ 6: บริษัท นิสสัน มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด

บริษัท นิสสัน มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด คือธุรกิจขนาดใหญ่ ที่อยู่ในหมวด C การผลิต และอยู่ในกลุ่มธุรกิจ 29102 การผลิตรถยนต์ส่วนบุคคล ที่รายได้รวมทั้งหมดของบริษัทในปี พ.ศ.2565 อยู่ที่ 104,903,655,883 บาท ขณะที่การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว (YoY) เพิ่มขึ้น 9.15%

อันดับที่ 7: บริษัท เด็นโซ่ เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด

บริษัท เด็นโซ่ เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด ถือเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ ในหมวด G การขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์ และเป็นหนึ่งในกลุ่มธุรกิจ 45301 การขายส่งชิ้นส่วนและอุปกรณ์เสริมใหม่ของยานยนต​์ ทั้งนี้ บริษัทสามารถทำรายได้รวมทั้งหมดจากปี พ.ศ.2565 จำนวน 70,636,421,072 บาท และมีการเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว (YoY) เพิ่มขึ้น 29.65%

อันดับที่ 8: บริษัท ฮีโน่มอเตอร์ส แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด

บริษัท ฮีโน่มอเตอร์ส แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด คือธุรกิจขนาดใหญ่ ที่ถูกจัดไว้ในหมวด C การผลิต และเป็นธุรกิจในกลุ่ม 29109 การผลิตยานยนต์อื่นๆ ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น โดยในปี พ.ศ.2565 บริษัททำรายได้รวมได้ทั้งหมด 56,272,065,649 บาท และมีการเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว (YoY) เพิ่มขึ้น 46.36%

อันดับที่ 9: บริษัท ซีอาร์ซี ไทวัสดุ จำกัด

บริษัท ซีอาร์ซี ไทวัสดุ จำกัด จัดเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ ที่อยู่ในหมวด G การขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์ และถูกจัดอยู่ในกลุ่มธุรกิจ 47524 ร้านขายปลีกวัสดุก่อสร้างอื่นๆ ซึ่งสามารถทำรายได้รวมทั้งหมดจากปี พ.ศ.2565 ได้ทั้งสิ้น 39,316,301,792 บาท ขณะที่การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว (YoY) เพิ่มขึ้น 14.87%

อันดับที่ 10: บริษัท เอ็นเอชเค สปริง (ประเทศไทย) จำกัด

บริษัท เอ็นเอชเค สปริง (ประเทศไทย) จำกัด คือธุรกิจขนาดใหญ่ ในหมวด C การผลิต และอยู่ในกลุ่มธุรกิจ 29309 การผลิตชิ้นส่วนและอุปกรณ์เสริมอื่นๆ สำหรับยานยนต์ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น โดยในปี พ.ศ.2565 บริษัทสามารถทำรายได้รวมได้ทั้งหมด 35,881,092,204 บาท และมีการการเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว (YoY) เพิ่มขึ้น 5.66%

 


[1] ข้อมูลจากเว็บไซต์ Creden Data (https://data.creden.co/

เนื้อหาล่าสุด