Skip to main content

สมเป็นเมืองโรงงาน! เศรษฐกิจ “จังหวัดลำพูน” พบธุรกิจหมวด C ทำรายได้ดีที่สุดของจังหวัด

18 เมษายน 2567
  • จังหวัดลำพูนมีประวัติศาสตร์เก่าแก่ อุดมสมบูรณ์ด้วยธรรมชาติที่สวยงาม มีประชากรรวม 399,557 คน
  • ปี 2564 จังหวัดลำพูนมีมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (Gross Provincial Product หรือ GPP) อยู่ที่ 88,614 ล้านบาท และมีผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดต่อหัว (GPP per capita) 226,464 บาท 

 

“ลำพูน” คือที่ตั้งของเมืองโบราณนามว่า “หริภุญไชย” ถือเป็นจังหวัดที่มีขนาดเล็กที่สุดของภาคเหนือ และมีประวัติศาสตร์เก่าแก่ อุดมสมบูรณ์ด้วยธรรมชาติที่สวยงาม ทั้งยังมีศิลปะ วัฒนธรรม และสถาปัตยกรรมแบบล้านนา ที่แม้ว่าเวลาจะผ่านมาหลายร้อยปีแล้ว แต่จังหวัดลำพูนก็ยังสามารถรักษาขนบธรรมเนียมและวิถีชีวิตที่เป็นอัตลักษณ์โดดเด่นของตัวเองเอาไว้ได้อย่างยอดเยี่ยม

จังหวัดลำพูนถูกกำหนดให้เป็นเครื่องยนต์ขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของประเทศ ด้วยนโยบายการตั้งนิคมอุตสาหกรรมแห่งแรกของภาคเหนือในปี พ.ศ.2526 ซึ่งมีบทบาทต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของจังหวัดและของประเทศ โดยในปี พ.ศ.2564 จังหวัดลำพูนมีมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (Gross Provincial Product หรือ GPP) อยู่ที่ 88,614 ล้านบาท และมีผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดต่อหัว (GPP per capita) 226,464 บาท[1] ทั้งนี้ 10 บริษัทที่ทำรายได้รวมสูงสุดของจังหวัดลำพูน ประจำปี พ.ศ.2565[2] ที่ผ่านมา มีดังต่อไปนี้

 

อันดับที่ 1: บริษัท มูราตะ อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด

บริษัท มูราตะ อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นธุรกิจขนาดใหญ่ ในหมวด C การผลิต ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มธุรกิจ 26109 การผลิตส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น โดยในปี พ.ศ.2565 บริษัทมีรายได้รวม 9,844,381,444 บาท และมีการเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว (YoY) เพิ่มขึ้น 10.56%

 

อันดับที่ 2: บริษัท เอจีซี ไมโคร กลาส (ประเทศไทย) จำกัด

บริษัท เอจีซี ไมโคร กลาส (ประเทศไทย) จำกัด ถือเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ในจังหวัดลำพูน ที่ถูกจัดไว้ในหมวด C การผลิต และอยู่ในกลุ่มธุรกิจ 26701 การผลิตเลนส์ มีรายได้รวมในปี พ.ศ.2565 อยู่ที่ 8,383,957,778 บาท โดยมีการเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว (YoY) เพิ่มขึ้น 23.00%

 

อันดับที่ 3: บริษัท ฮิตาชิ แฮสเตโม ลำพูน จำกัด

บริษัท ฮิตาชิ แฮสเตโม ลำพูน จำกัด เป็นอีกหนึ่งธุรกิจขนาดใหญ่ ในหมวด C การผลิต และถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มธุรกิจ 29309 การผลิตชิ้นส่วนและอุปกรณ์เสริมอื่นๆ สำหรับยานยนต์ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น ซึ่งปี พ.ศ.2565 ที่ผ่านมา บริษัทมีรายได้รวม 6,334,737,391 บาท ขณะที่มีการเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว (YoY) เพิ่มขึ้น 16.20%

 

อันดับที่ 4: บริษัท โฮยา ลำพูน จำกัด

บริษัท โฮยา ลำพูน จำกัด คือธุรกิจขนาดใหญ่ ในหมวด C การผลิต เป็นหนึ่งในกลุ่มธุรกิจ 26209 การผลิตอุปกรณ์ต่อพ่วงอื่นๆ ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น และปี พ.ศ.2565 บริษัททำรายได้รวม 4,811,939,252 บาท และมีการเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว (YoY) เพิ่มขึ้น 99.73%

 

อันดับที่ 5: บริษัท โฮยา ออปติคส์ (ประเทศไทย) จำกัด

บริษัท โฮยา ออปติคส์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นอีกหนึ่งธุรกิจขนาดใหญ่ในจังหวัดลำพูน ที่อยู่ในหมวด C การผลิต และเป็นหนึ่งในกลุ่มธุรกิจ 26701 การผลิตเลนส์ รายได้รวมของบริษัทในปี พ.ศ.2565 คือ 4,790,658,004 บาท ทั้งนี้ มีการเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว (YoY) เพิ่มขึ้น 36.16%

 

อันดับที่ 6: บริษัท เคียวเซร่า (ประเทศไทย) จำกัด

บริษัท เคียวเซร่า (ประเทศไทย) จำกัด เป็นธุรกิจขนาดใหญ่ ในหมวด C การผลิต และอยู่ในกลุ่มธุรกิจ 26109 การผลิตส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น โดยปี พ.ศ.2565 มีรายได้รวม 4,355,219,985 บาท และมีการเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว (YoY) เพิ่มขึ้น 54.71%

 

อันดับที่ 7: บริษัท ไท่ เหอ เทรดดิ้ง จำกัด

บริษัท ไท่ เหอ เทรดดิ้ง จำกัด คือธุรกิจขนาดใหญ่ของจังหวัดลำพูน ถูกจัดอยู่ในหมวด G การขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์ และเป็นหนึ่งในกลุ่มธุรกิจ 46313 การขายส่งผักและผลไม้ มีรายได้รวมในปี พ.ศ.2565 ทั้งหมด 3,543,454,256 บาท ขณะที่มีการเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว (YoY) ลดลง 16.85% 

 

อันดับที่ 8: บริษัท เอ็ม เอส พี อินเตอร์ฟู้ดส์ จำกัด

บริษัท เอ็ม เอส พี อินเตอร์ฟู้ดส์ จำกัด ถือเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ ในหมวด G การขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์ ซึ่งจัดเป็นกลุ่มธุรกิจ 47211 ร้านขายปลีกเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ ซึ่งในปี พ.ศ.2565 บริษัทมีรายได้รวม 3,486,615,723 บาท และมีการเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว (YoY) เพิ่มขึ้น 20.73%

 

อันดับที่ 9: บริษัท ธงฟา โลจิสติกส์ จำกัด

บริษัท ธงฟา โลจิสติกส์ จำกัด เป็นธุรกิจขนาดใหญ่ ที่ถูกจัดอยู่ในหมวด G การขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์ และอยู่ในกลุ่มธุรกิจ 46313 การขายส่งผักและผลไม้ ปี พ.ศ.2565 ที่ผ่านมา มีรายได้รวมทั้งหมด 3,070,545,159 บาท ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว (YoY) เพิ่มขึ้น 5,080.35%

 

อันดับที่ 10: บริษัท ลำพูน ซิงเดนเก็น จำกัด

บริษัท ลำพูน ซิงเดนเก็น จำกัด คือธุรกิจขนาดใหญ่ ในหมวด C การผลิต ที่อยู่ในกลุ่มธุรกิจ 26109 การผลิตส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น และในปี พ.ศ.2565 ที่ผ่านมา บริษัทมีรายได้รวม 2,886,718,445 บาท ทั้งนี้ มีการเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว (YoY) เพิ่มขึ้น 8.37%
 


[1] อ้างอิงจากรายงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ.2565 

[2] ข้อมูลจากเว็บไซต์ Creden Data (https://data.creden.co/

เนื้อหาล่าสุด