- จังหวัดแพร่ถือเป็นประตูสู่ล้านนา มีประชากรทั้งหมด 430,669 คน
- ข้อมูลมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (Gross Provincial Product หรือ GPP) ของจังหวัดแพร่ ในปี พ.ศ.2564 อยู่ที่ 30,824 ล้านบาท ขณะที่ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดต่อหัว (GPP per capita) 82,755 บาท
จังหวัดแพร่ที่ถือเป็น “ประตูสู่ล้านนา” ซึ่งนับว่าเป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งทางรถยนต์ที่สำคัญแห่งหนึ่งของภาคเหนือ ที่ิติดต่อไปยังจังหวัดอื่นๆ เช่น จังหวัดน่าน จังหวัดพะเยา และจังหวัดลำปาง นอกจากนี้ จังหวัดแพร่ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจมากมาย ทั้งศาสนาสถานอย่างวัดพระธาตุช่อแฮ โบราณสถานที่สำคัญในด้านประวัติศาสตร์ รวมถึงสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติอีกหลายแห่ง เช่น แพะเมืองผี แก่งเสือเต้น และถ้ำผานางคอย เป็นต้น
ปี พ.ศ.2564 จังหวัดแพร่มีมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (Gross Provincial Product หรือ GPP) อยู่ที่ 30,824 ล้านบาท ขณะที่ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดต่อหัว (GPP per capita) 82,755 บาท[1] และ 10 บริษัทที่ทำรายได้รวมสูงสุดของจังหวัดแพร่ ในปี พ.ศ.2565[2] มีดังต่อไปนี้
อันดับที่ 1: บริษัท แพร่ธำรงวิทย์ จำกัด
บริษัท แพร่ธำรงวิทย์ จำกัด เป็นธุรกิจขนาดใหญ่ของจังหวัดแพร่ โดยอยู่ในหมวด F การก่อสร้าง และจัดเป็นกลุ่มธุรกิจ 41002 การก่อสร้างอาคารที่ไม่ใช่ที่พักอาศัย ขณะที่ในปี พ.ศ.2565 บริษัททำรายได้รวมได้ 2,602,854,659 บาท โดยการเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว (YoY) เพิ่มขึ้น 11.52%
อันดับที่ 2: บริษัท แพร่วิศวกรรม จำกัด
บริษัท แพร่วิศวกรรม จำกัด คือธุรกิจขนาดใหญ่ ในหมวด F การก่อสร้าง และอยู่ในกลุ่มธุรกิจ 41002 การก่อสร้างอาคารที่ไม่ใช่ที่พักอาศัย โดยปี พ.ศ.2565 บริษัทมีรายได้รวม 1,379,132,195 บาท การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว (YoY) เพิ่มขึ้น 100.00%
อันดับที่ 3: บริษัท โตโยต้าแพร่หล่อตระกูล ผู้จำหน่ายโตโยต้า จำกัด
บริษัท โตโยต้าแพร่หล่อตระกูล ผู้จำหน่ายโตโยต้า จำกัด นับเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ ที่ถูกจัดอยู่ในหมวด G การขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์ ในกลุ่มธุรกิจ 45101 การขายยานยนต์ใหม่ชนิดรถยนต์นั่งส่วนบุคคล รถกระบะ รถตู้ และรถขนาดเล็กที่คล้ายกัน มีรายได้รวมในปี พ.ศ.2565 ทั้งหมด 935,169,682 บาท ขณะที่การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว (YoY) เพิ่มขึ้น 8.32%
อันดับที่ 4: บริษัท ไนน์ตี้ไนน์ นูดเดิ้ล จำกัด
บริษัท ไนน์ตี้ไนน์ นูดเดิ้ล จำกัด เป็นธุรกิจขนาดใหญ่ ที่อยู่ในหมวด C การผลิต และกลุ่มธุรกิจ 10794 การผลิตอาหารพร้อมปรุงและอาหารที่เน่าเสียง่าย ซึ่งปี พ.ศ.2565 มีรายได้รวม 833,769,633 ล้าน และการเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว (YoY) เพิ่มขึ้น 11.69%
อันดับที่ 5: บริษัท แสงไทยแพร่ จำกัด
บริษัท แสงไทยแพร่ จำกัด คือธุรกิจขนาดใหญ่ของจังหวัดแพร่ ในหมวด G การขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์ และจัดเป็นกลุ่มธุรกิจ 47190 การขายปลีกสินค้าอื่นๆ ในร้านค้าทั่วไป ปี พ.ศ.2565 มีรายได้รวม 667,015,862 บาท การเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว (YoY) ลดลง 0.18%
อันดับที่ 6: บริษัท อีซูซุแพร่ จำกัด
บริษัท อีซูซุแพร่ จำกัด ถือเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ ในหมวด G การขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์ กลุ่มธุรกิจ 45101 การขายยานยนต์ใหม่ชนิดรถยนต์นั่งส่วนบุคคล รถกระบะ รถตู้ และรถขนาดเล็กที่คล้ายกัน โดยปี พ.ศ.2565 มีรายได้รวมทั้งหมด 650,985,939 บาท โดยเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว (YoY) เพิ่มขึ้น 3.57%
อันดับที่ 7: บริษัท สุราวิทยานันท์
บริษัท สุราวิทยานันท์ จัดเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ ที่จัดอยู่ในหมวด G การขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์ และอยู่ในกลุ่มธุรกิจ 47221 ร้านขายปลีกเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ มีรายได้รวมจากปี พ.ศ.2565 ทั้งสิ้น 611,518,828 บาท โดยมีการเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว (YoY) ลดลง 8.00%
อันดับที่ 8: บริษัท แทร็คโก้ จำกัด
บริษัท แทร็คโก้ จำกัด เป็นธุรกิจขนาดใหญ่ของจังหวัด ที่ถูกจัดเป็นหมวด F การก่อสร้าง ในกลุ่มธุรกิจ 42101 การก่อสร้างถนนสะพานและอุโมงค์ ซึ่งในปี พ.ศ.2565 มีรายได้รวม 557,871,901 บาท และมีการเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว (YoY) เพิ่มขึ้น 38.73%
อันดับที่ 9: บริษัท ไทยเอเชีย ไรซ์ โปรดักส์ จำกัด
บริษัท ไทยเอเชีย ไรซ์ โปรดักส์ จำกัด คือธุรกิจขนาดใหญ่ ในหมวด C การผลิต และจัดอยู่ในกลุ่มธุรกิจ 10742 การผลิตเส้นก๋วยเตี๋ยว บะหมี่ วุ้นเส้น ที่ปี พ.ศ.2565 มีรายได้รวม 535,798,180 บาท ขณะที่มีการเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว (YoY) เพิ่มขึ้น 42.81%
อันดับที่ 10: บริษัท เอ ปิโตรเลียม จำกัด
บริษัท เอ ปิโตรเลียม จำกัด เป็นธุรกิจขนาดใหญ่ในจังหวัดแพร่ ที่อยู่ในหมวด G การขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์ เป็นธุรกิจในกลุ่ม 47300 การขายปลีกเชื้อเพลิงยานยนต์ในร้านค้าเฉพาะ สถานี ปั๊ม ซึ่งในปี พ.ศ.2565 มีรายได้รวม 507,796,484 บาท โดยมีการเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว (YoY) เพิ่มขึ้น 41.74%
[1] รายงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ.2565
[2] ข้อมูลจากเว็บไซต์ Creden Data (https://data.creden.co/)