Skip to main content

ปั้นเชฟ "ตัวน้อย" ทำอาหารพื้นบ้าน สร้างอาชีพเสริม

26 มีนาคม 2567

ผู้บริหารโรงเรียนโพธิ์เกษตร จัดอบรมนักเรียน ฝึกทำอาหารพื้นบ้านภาคกลาง "ต้มโคล้ง" หวังเป็นอาชีพเสริมในอนาคต หลังจบการศึกษา เมนูทำง่ายมีประโยชน์จากสมุนไพรไทย  

น.ส.ชุลีพร คำดี ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดโพธิ์เกษตร ต.หัวสำโรง อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี เจ้าของไอเดียการทำอาหารไทยพื้นบ้านในภาคกลางให้กับเด็กนักเรียนระดับชั้นมัธยมปีที่ 1 และปีที่ 3  เพื่อฝึกฝนเป็นอาชีพเสริมให้กับบรรดาเด็กนักเรียนที่จบการศึกษา ให้มีความรู้ในเรื่องอาหารพื้นบ้านในภาคกลาง คือ ต้มโคล้ง 
 
"อาหารไทยเป็นอาหารที่มีเอกลักษณ์มากๆ โดยเฉพาะอาหารที่มีกลิ่นหอมของสมุนไพร แล้วยังให้ประโยชน์ต่อร่างกายของเราอีกด้วย อาหารจานนี้ก็เป็นอาหารไทยอีกอย่างหนึ่งที่มีส่วนผสมของสมุนไพรไทยมากมาย รสชาติอร่อย จัดจ้าน หอมเตะจมูกแน่นอน" น.ส.ชุลีพร

น.ส.ชุลีพร กล่าวว่า ต้มโคล้ง เป็นกับข้าวพื้นบ้านภาคกลาง ตำรับตำราจากรุ่นย่าทวดกำกับไว้ว่า อุตส่าห์ทำให้ง่ายแต่อร่อย กินได้ทุกมื้อทุกฤดูกาลแล้ว เครื่องปรุงก็น้อยอย่าง มีแค่ หอมแดง พริกแห้ง และน้ำมะขามเปียกเท่านั้น ของโบราณใช้มะขามสดด้วยซ้ำ

ที่มาของเมนูต้มโคล้งเกิดจากวิถีชีวิตคนไทยสมัยก่อน เมื่อหาปลาได้จำนวนมากในฤดูน้ำหลาก จึงหาวิธีถนอมอาหารเพื่อให้เก็บไว้ได้นาน เช่น การใส่เกลือตากแดด ทำปลาเค็ม ปลาร้า และอื่น ๆ รวมถึงปลาย่าง ภายหลังปลาย่างถูกนำมาปรุงต่อยอดเป็นแกง ใส่พริกชี้ฟ้าแห้งที่ฉีกเป็นชิ้น ๆ ลงไป กลายเป็นเมนูต้มโคล้งในที่สุด 
 

ต้มโคล้ง
ต้มโคล้ง
เนื้อหาล่าสุด