Skip to main content

"ตะแหลว" เครื่องรางพิธีกรรมโบราณสู่การสร้างรายได้ให้ชุมชน

27 กุมภาพันธ์ 2567

จากความเชื่อเครื่องรางโบราณที่ชาวบ้าน "พันเชิง" อนุรักษ์ไว้ นำมาปรับรูปแบบให้มีขนาดเล็กลง เพื่อให้คนที่ศรัทธาได้เช่าบูชา สร้างรายได้อีกทางให้กับคนในชุมชน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ชาวบ้านพันเชิง ต.ช่อแฮ อ.เมืองแพร่ จ.แพร่ ที่ผูกพันธ์กับ "ตาแหลว" และวิถีชีวิตการเก็บเมี่ยง ได้อนุรักษ์การสานตาแหลว และปรับเปลี่ยนรูปแบบตามยุคสมัย โดยทำให้มีรูปแบบ ทำตาแหลว ให้มีขนาดเล็กลง แบบเครื่องรางของฝาก เพื่อให้คนที่ศรัทธา ได้เช่าบูชาติดตัว ในราคาเริ่มต้น 99 -199 บาท

โดยมีการใส่กรอบติดแหนบแขวนกระเป๋าเสื้อให้แบบครบวงจร หรือทำแบบเครื่องรางพวงกุญแจ เป็นงานฝีมือผู้สูงอายุในบ้านพันเชิง ได้ร่วมทำกันในเพราะวัสดุอุปกรณ์การทำหาได้ในชุมชน เพิ่มมูลค่าให้ไม้ไผ่ในสวน สร้างรายได้อีกทาง

"ตะแหลว" เป็นเครื่องรางโบราณ ในพิธีกรรมและความเชื่อแต่โบราณ ของชาวล้านนา ที่ทำด้วยไม้ไผ่สาน ตะแหลวเพื่อใช้ประกอบพิธีสืบชะตา พิธีสวดถอนหลังเสร็จงานศพ เพื่อให้วิญญาณคนตายไม่ย้อนเข้าบ้านเข้าเรือนที่เคยอยู่ บางคนจะแขวนตะแหลวไม้ไผ่สานไว้ปากประตูเข้าบ้าน หรือพิธีไล่สิ่งอัปมงคล การลอดตะแหลวหลังเสร็จพิธี ซึ่งคนล้านนาส่วนใหญ่ มักพบเจอพิธีกรรมลักษณะนี้บ่อยครั้ง จนคุ้นตา

นอกจากจะเกี่ยวข้องกับพิธีกรรมแล้ว ยังได้เกี่ยวข้องกับอาชีพการทำเมี่ยงในเมืองแพร่ มาช้านาน  โดยคนยุคก่อนจะเก็บใบเมี่ยงลงมาจากสวนในป่าที่ไกลบ้าน จะสานไม้ไผ่เป็นก๋วย(ตะกร้าไม้ไผ่) หรือภาชนะใส่ใบเมี่ยงเพื่อให้เกิดความสะดวกในการขนออกจากป่า โดยใช้วัวต่าง หรือวัวขนเมี่ยง การปิดปากก๋วย ต้องสานตะแหลวปิดไว้ทุกครั้ง อาจเป็นความเชื่อคนโบราณที่มีวิชาไสยศาสตร์ เพื่อป้องกันตัวเอง จึงต้องทำให้ตัวเองปลอดภัย 
 

ตะแหลว
ตะแหลว
ตะแหลว
ตะแหลว
ตะแหลว
ตะแหลว
ตะแหลว
ตะแหลว
เนื้อหาล่าสุด