Skip to main content

Tanjak สินค้าทางวัฒนธรรมที่กำลังบูมที่ชายแดนใต้

26 พฤษภาคม 2567

Tanjak หรือ เครื่องประดับศีรษะ เป็นเครื่องแต่งกายสำคัญที่กำลังเป็นที่นิยมในกลุ่มวัยรุ่นมุสลิมชาย แม้ราคาค่อนข้างสูงไปหน่อยก็ตาม เพราะพวกเขาตั้งหน้าตั้งตารอสวมเครื่องแบบเต็มยศเพื่อจะถ่ายรูปร่วมกันในสถานที่ต่างๆ ในวันรายออีดิ้ลฟิตรี ซึ่งเป็นวันฉลองสิ้นสุดการถือศีลอดในเดือนรอมฎอน

Busana Melayu เป็นส่วนหนึ่งที่แสดงถึงความภาคภูมิใจในอัตลักษณ์ทางชาติพันธ์ุของคน “มลายูมุสลิมปาตานี” ที่แฝงเร้นถึงแบบแผนทางการเมืองการปกครองที่เข้มแข็งในอดีต ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยได้ให้สิทธิเสรีภาพในการแสดงออกทางอัตลักษณ์วัฒนธรรมได้อย่างเต็มที่

Tanjak เป็นเครื่องพันศีรษะที่บ่งบอกตำแหน่ง ฐานะ และบทบาทหน้าที่อย่างเป็นทางการของคนรัฐต่างๆ ในภูมิภาคมลายูในอดีต ซึ่งรวมถึงปาตานี โดยมีหลักฐานชี้ว่า Tanjak เริ่มมีมาก่อนพุทธศตวรรษที่ 1700 หรือตั้งแต่สมัยที่อาณาจักรศรีวิชัยยังรุ่งเรือง

Tanjak ไม่ใช่เครื่องแต่งกายทั่วไป เพราะคนที่จะสวมใส่ได้ต้องได้รับพระราชทานจากกษัตริย์ ซึ่ง Tanjak ในกลุ่มนี้เรียกว่า Tanjak Warisan ซึ่งเป็นการสืบทอดจากรูปแบบเดิมที่กษัตริย์ในอดีตพระราชทานให้ ส่วน Tanjak ของบุคคลทั่วไปจะมีรูปแบบแตกต่างหลากหลาย เรียก Tanjak Keriasi (Creative) ขึ้นกับจินตนาการของคนพับ ไม่มีรูปแบบตายตัวเหมือนในกลุ่ม Warisan

สุกรี อินซัฟ แกนนำกลุ่ม Anak Jawi  ซึ่งเคลื่อนไหวรณรงค์ทางวัฒนธรรมมลายูปาตานี ซึ่งเปิดร้าน Anak Jawi และขาย Tanjak บอกว่า เป้าหมายของกลุ่ม คือ การรณรงค์ทางวัฒนธรรมเพื่อสร้างความภาคภูมิใจในอัตลักษณ์ท้องถิ่น โดยจะนำกำไรจากการขายสินค้ามาหล่อเลี้ยงงานรณรงค์ของกลุ่ม เพื่อให้สามารถทำงานด้านวัฒนธรรมได้อย่างเต็มที่ โดยที่ไม่ต้องเจอความยากลำบากทางเศรษฐกิจ

อ่านบทความ "Tanjak สินค้าทางวัฒนธรรมชั้นสูงที่กำลังบูมในชายแดนใต้"

 

 

เนื้อหาล่าสุด