Skip to main content

‘ท่าพระยาเมืองสาย’ ตลาดเพื่อชุมชน ฝีมือคนรุ่นใหม่ปัตตานี

23 มีนาคม 2567

มูฮำหมัด ดือราแม


เข้าสู่ช่วงเดือนรอมาฎอนที่พี่น้องมุสลิมถือศีลอด เศรษฐกิจชายแดนใต้ก็คึกคักทันที โดยเฉพาะอาหารการกิน ยิ่งเป็นพวกเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายสวยงามตามวัฒนธรรมมลายูและศาสนาก็จะขายดีเป็นเทน้ำเทท่า เพราะต้องใช้สวมใส่ชุดใหม่ในวันฉลองสิ้นสุดการถือศีลอด

แต่จะมีสักกี่ตลาดที่ใครๆ ก็อยากมาเปิดร้านขายของไม่ว่าจะช่วงรอมาฎอนหรือไม่ก็ตาม และผู้คนจากทุกสารทิศต่างก็อยากมาเดินตลาด อยากมาช็อป อยากมากินของอร่อย ๆ สดๆ  

 

ด้วยการบริหารจัดการที่ดี มีคุณธรรมและนึกถึงประโยชน์ของคนเมืองสายอย่างแท้จริง จึงไม่ได้หวังผลประโยชน์จากคาเช่าแผงแพงๆ โดยไม่สนใจผู้ค้าว่าจะได้กำไรหรือไม่ ผู้ซื้อจะได้ของดีอะไรกลับไป และชุมชนจะได้ประโยชน์หรือเปล่า


ตลาดท่าพระยาเมืองสาย

 

หนึ่งในนั้นคือ “ตลาดท่าพระยาเมืองสาย” อ.สายบุรี จ.ปัตตานี ที่เปิดมาตั้งแต่ ปี 2564 โดยคนในพื้นที่เป็นทีมงานออร์แกไนซ์เอง มีจุดเริ่มต้นจากกลุ่มธารน้ำใจที่หวังจะกระตุ้นเศรษฐกิจและต่อลมหายใจให้คนเมืองสาย หลังผ่านพ้นสถานการณ์โควิด-19 ระบาด จนกระทั่งปัจจุบัน ซึ่งหน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่ก็เห็นด้วยและสนับสนุน

ด้วยการบริหารจัดการที่ดี มีคุณธรรมและนึกถึงประโยชน์ของคนเมืองสายอย่างแท้จริง จึงไม่ได้หวังผลประโยชน์จากคาเช่าแผงแพงๆ โดยไม่สนใจผู้ค้าว่าจะได้กำไรหรือไม่ ผู้ซื้อจะได้ของดีอะไรกลับไป และชุมชนจะได้ประโยชน์หรือเปล่า

พวกเขาจึงออกแบบการจัดการตลาดให้ได้ประโยชน์ทุกฝ่าย ถ้าสินค้าที่นำมาขายไม่มีประโยชน์จริงๆ หรือร้านค้าใดทำผิดเงื่อนไข พวกเขาก็พร้อมที่จะแบนร้านนั้นทันทีโดยไม่สนใจใครทั้งนั้น และอย่าหวังว่าจะใช้เส้นสายซิกแซ็กกลับมาใหม่ได้อีก ไม่มีทาง

นั่นทำให้ชื่อเสียงของ “ทีมงานตลาดท่าพระยาเมืองสาย” ถูกถามถึงอยู่ตลอดเมื่อถึงวาระสำคัญๆ ของเมืองสายบุรีว่า จะเปิดตลาดท่าพระยาเมืองสายหรือไม่ ที่ไหนเมื่อไหร่ เพราะทีมงานจะเปิดรับสมัครทางออนไลน์ ซึ่งที่ผ่านมาเพียงวันเดียวก็เกินโควต้าที่จะรับแล้ว


ใส่ใจต่อคนขาย คนซื้อและผลประโยชน์ท้องถิ่น

 

อรรถพล สาแม เลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตำบลมะนังดาลัม อ.สายบุรี ในฐานะผู้ก่อตั้งทีมงานตลาดท่าพระยาเมืองสาย และเป็นผู้รับผิดชอบฝ่ายร้านค้า บอกว่า ตอนนี้คนรู้จักตลาดท่าพระยามากขึ้น ทำให้มีผู้ประกอบการอยากสมัครเข้ามาเป็นพ่อค้าแม่ค้าในตลาดจำนวนมาก จนต้องมีการคัดเลือก

“เรากำหนดเงื่อนไขไว้ว่าสินค้าที่จะขายตลาดท่าพระยานั้น ใน 1 ร้านต้องมีสินค้าไม่เกิน 3 อย่าง และมีสินค้าซ้ำได้ไม่เกิน 2 ร้าน เราพยายามจะให้ตลาดท่าพระยาขายสินค้าจากในพื้นที่ให้ได้ 80% แต่อาจจะน้อยกว่านั้นได้ เพื่อให้มีสินค้าที่จากนอกพื้นที่เข้ามาขายได้ โดยพิจารณาจาก 1) ร้านค้าในพื้นที่ไม่มีศักยภาพพอที่จะขายสินค้าเหล่านั้น 2) ต้องการดึงแบรนด์ดังๆ เข้ามาขายเพื่อดึงดูดคนมาเดินตลาด โดยกำหนดจำนวนร้านอาหารและเสื้อผ้าที่ไว้ที่ 100 ร้านค้า และมีเมนูอาหารมากกว่า 200 เมนู”

ส่วนค่าเช่า อรรถพล บอกว่า ล็อคเดิม 1,500 บาท ต่อไปจะขึ้นเป็น 3,000 บาท โดยจะมีโต๊ะเก้าอี้และติดตั้งแทงค์น้ำขนาดใหญ่ไว้ให้บริการเรียบร้อย โดยเจ้าของร้านอาจไม่ต้องเตรียมอะไรมา เพราะการเปิดตลาดแต่ละครั้งจะใช้งบสูงถึง 4-5 แสนบาท โดยเฉพาะค่าเช่าเต็นท์ ค่าไฟฟ้าค่า ค่าเก็บขยะ และค่าจ้างทีมงานครั้งละ 20 ถึง 30 คน

 

ในการจัดตลาดท่าพระยาเมืองสายครั้งล่าสุด ทีมงานสำรวจรายได้ของแต่ละร้านค้าโดยให้กรอกข้อมูลใน Google form ในระยะเวลา 3 วัน พบว่ามีรายได้รวมถึง 2 ล้านกว่าบาท นั่นหมายความว่า แต่ละร้านก็จะมีรายได้เกือบหมื่นต่อวันซึ่งถือว่าดีมาก

 

ใครๆ ก็มาสมัครขายของได้

 

อรรถพล บอกว่า ทีมงานให้ความสำคัญกับร้านอาหารมาก เพราะถ้าเป็นอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพก็ไม่ให้ขาย หรืออาหารบางอย่างที่ดูแล้วได้กำไรน้อยก็ไม่อยากให้ขาย เพราะกลัวว่าคนขายจะได้ไม่คุ้ม เช่น โรตีสายไหม เพราะไม่อยากให้ตั้งราคาสูง อยากให้ขายราคาปกติทั่วไป

“เราไม่มีเส้น เราคัดเลือกตามเงื่อนไขและพิจารณาเป็นประโยชน์ต่อคนสายบุรีจริงๆ ไม่อย่างนั้นความศรัทธาของเราก็จะหายไป เพราะฉะนั้นทุกร้านจะต้องสมัครทางออนไลน์ตามขั้นตอนและเงื่อนไขที่ทีมงานกำหนด โดยเราจะพิจารณาตัวสินค้าเป็นหลัก”

เขาบอกด้วยว่า ใครๆ ก็มาสมัครขายของได้ ตลาดท่าพระยาเมืองสายไม่ได้ปิดกั้นว่า ร้านอาหารจะต้องจะต้องเป็นของมุสลิมหรือเป็นอาหารฮาลาล แต่เนื่องจากคนเดินตลาดส่วนใหญ่เป็นมุสลิม อาหารฮาลาลจึงขายดีมากกว่า ซึ่งที่ผ่านก็มีคนพุทธมาเปิดร้านขายเสื้อผ้าก็ขายได้ดีเช่นกัน

 

“เราจัดตลาดโดยไม่ได้หวังผลกำไร เพราะฉะนั้นเราจึงเน้นคุณภาพ เพื่อให้ผู้ค้าได้คัดเลือกสินค้าให้ตรงตามเงื่อนไขที่เรากำหนด ทั้งนี้ก็เพื่อผลประโยชน์ร่วมกันของคนสายบุรี ถ้ามีกำไรก็เอามาแบ่งกัน แต่ถ้าขาดทุนก็รับผิดชอบร่วมกัน” 

 

เงื่อนไขเพื่อสังคม กำไรเพื่อชุมชน

 

“เราจัดตลาดโดยไม่ได้หวังผลกำไร เพราะฉะนั้นเราจึงเน้นคุณภาพ เพื่อให้ผู้ค้าได้คัดเลือกสินค้าให้ตรงตามเงื่อนไขที่เรากำหนด ทั้งนี้ก็เพื่อผลประโยชน์ร่วมกันของคนสายบุรี ถ้ามีกำไรก็เอามาแบ่งกัน แต่ถ้าขาดทุนก็รับผิดชอบร่วมกัน” อรรถพลบอก

คนที่ไม่เคยมาเปิดร้านในตลาดท่าพระยาเมืองสายอาจจะคิดว่า มีเงื่อนไขเยอะแยะ บางคนสมัครมาก็ไม่ได้ดูให้ละเอียดหรือสมัครตามเพื่อนมา ซึ่งถ้าใครไม่ทำตามเงื่อนไขอย่างเคร่งครัด ก็ไม่อนุญาตและจะขึ้นบัญชีดำไว้ไปไม่ให้มาเปิดร้านอีก

การเปิดร้านและปิดร้านก็ต้องตรงเวลา จะเปิดร้านก่อนเวลาบ่าย 3 ไม่ได้ หรือเมื่อถ้าถึงเวลาเปิดตลาดแล้วยังไม่เปิดร้านอีกก็จะหมดสิทธิ์อีกต่อไป ส่วนเวลาปิดคือ 4 ทุ่ม ถ้าขายของหมดแล้วจะปิดร้านก่อนก็ไม่ได้ ไม่อย่างนั้นร้านอื่นก็จะปิดตามไปด้วย ถ้าทำแบบนั้นครั้งต่อไปก็หมดสิทธิ์แน่นอน


ควบคู่สีสันประจำปีของเมืองสาย

 

ตลาดท่าพระยาจัดมาแล้ว 5 ครั้ง โดยปกติจะจัดที่ริมชายหาดวาสุกรี ยกเว้นช่วงแรกๆ ที่จัดขึ้นที่ลาดตกปลาริมแม่น้ำสายบุรี ตลาดจะจัดปีละ 2- 3 ครั้งในโอกาสสำคัญๆ ได้แก่ ตรงกับช่วงเทศกาลตกปลาประจำปีของอำเภอสายบุรี ซึ่งเป็นงานที่มีชื่อเสียงซึ่งจัดมาอย่างต่อเนื่อง 30 กว่าปีแล้ว

งานแข่งว่าวประจำปี ล่าสุดจัดขึ้นเมื่อวันที่ 2-4 มีนาคม 2567 ณ หาดวสุกรี ชื่องาน Layang Layang de Taluban ตลาดท่าพระยาเมืองสายและเทศกาลว่าวพื้นที่เมืองสายบุรี ซึ่งเป็นงานที่มีชื่อเสียงเช่นกัน เพราะมีว่าวแฟนซีสวยๆ มาสร้างสีสันให้ได้ชมกัน “สวยถึงขนาดที่ว่า สมาชิกในทีมงานถูกเชิญไปโชว์ว่าวที่ประเทศอิตาลีอยู่ในขณะนี้” (17 มีนาคม 2567)

ครั้งต่อไป อาจจะจัดในช่วงท้ายๆ รอมาฎอน (1-10 เมษายน 2567) แต่ในเวลาปกติตลาดท่าพระยาเมืองสายจะเปิดครั้งละ 4 วันเท่านั้น

นอกจากนี้ ทีมงานยังจัดตลาดถนนคนเดินด้วย ซึ่งเป็นตลาดที่เล็กกว่าและจัดมาแล้ว 3 ครั้ง โดยสับเปลี่ยนสถานที่ไปตามบริบทสถานการณ์ภายในเขตตลาดสายบุรี (เทศบาลตะลุบัน) และใช้เงื่อนไขเดียวกันในการคัดเลือกผู้ค้า

อรรถพล บอกว่า ในการจัดตลาดท่าพระยาเมืองสายครั้งล่าสุด ทีมงานสำรวจรายได้ของแต่ละร้านค้าโดยให้กรอกข้อมูลใน Google form ในระยะเวลา 3 วัน พบว่ามีรายได้รวมถึง 2 ล้านกว่าบาท นั่นหมายความว่า แต่ละร้านก็จะมีรายได้เกือบหมื่นต่อวันซึ่งถือว่าดีมาก


สร้างโอกาสและการมีส่วนรวม

 

จุดดึงดูดผู้คนเข้าสู่ตลาดอีกอย่างก็คือ การจัดกิจกรรมเวที แต่เป็นเวทีสำหรับเด็กได้แสดงความสามารถ กิจกรรมทางวัฒนธรรมและศาสนา ซึ่งก็ต้องคัดเลือกเช่นกันว่า เป็นกิจกรรมที่เป็นประโยชน์และถูกต้องตามหลักศาสนาอิสลามหรือไม่ เช่น ให้เด็กมาขับร้องเพลงอนาชีด หรือการบรรยายธรรมทางศาสนา

“เราจะใช้โอกาสนี้ให้เด็กๆ ได้แสดงความสามารถเพื่อจะยกระดับการพัฒนาต่อไป โดยให้เจ้าของร้านได้มีส่วนร่วมด้วย เช่น การมอบรางวัล เป็นต้น ไม่ใช่มุ่งแต่จะหากำไรจากการมาขายอย่างเดียว”

อรรถพลบอกว่า การจัดการตลาดของพวกเขาจะแตกต่างกับออร์แกไนซ์อื่นๆ ที่อาจจะเน้นกำไร แต่ไม่สนใจผู้ประกอบการว่าจะขายดีหรือไม่ ขอแค่จ่ายค่าเช่าที่ครบก็พอ แต่เราไม่ใช่อย่างนั้นเราต้องการให้ทุกร้านมีกำไร เพราะอุตส่าห์จ่ายค่าเช่าที่มาแล้ว

ในวันเปิดตลาด ทีมงานจะประชุมและประเมินผลการดำเนินงานทุกวันว่า มีปัญหาอะไรบ้างและจะแก้ปัญหาอย่างไร

ในวันสุดท้ายของตลาดจะปิดประมาณ 4-5 ทุ่ม เราก็จะเก็บหมดทุกอย่างให้เรียบร้อย จะเคลียร์สถานที่ให้สะอาดเรียบร้อย และพร้อมใช้งานอื่นในวันรุ่งขึ้นได้ทันที หรือเปิดทางการจราจรปกติ ยกเว้นเต็นท์ขนาดใหญ่ที่เจ้าของจะมาเก็บเอง

 

อรรถพลบอกว่า การจัดการตลาดของพวกเขาจะแตกต่างกับออร์แกไนซ์อื่นๆ ที่อาจจะเน้นกำไร แต่ไม่สนใจผู้ประกอบการว่าจะขายดีหรือไม่ ขอแค่จ่ายค่าเช่าที่ครบก็พอ แต่เราไม่ใช่อย่างนั้นเราต้องการให้ทุกร้านมีกำไร เพราะอุตส่าห์จ่ายค่าเช่าที่มาแล้ว


สายบุรีตั้งอยู่ในจุดยุทธศาสตร์ที่ดี

 

อรรถพลบอกว่า สาเหตุที่ตลาดท่าพระยาเมืองสายขายดี และใครๆ ก็อยากจะมาเปิดร้านนั้นก็เพราะว่า สายบุรีตั้งอยู่ในจุดยุทธศาสตร์ที่ดี เป็นจุดเชื่อมต่อตรงกลางของหลายอำเภอที่อยู่รอบๆ และสามารถเดินทางไปมาสะดวก

โดยมี อ.ปะนาเระตั้งอยู่ทางทิศเหนือ อ.กะพ้อที่อยู่ด้านทิศตะวันตก และ อ.ไม้แก่น จ.ปัตตานี กับ อ.บาเจาะ จ.นราธิวาสตั้งอยู่ทางทิศใต้ ส่วนทิศตะวันออกเป็นทะเล

ลักษณะเช่นนี้ จึงทำให้มีนักท่องเที่ยวหรือประชาชนจากที่ต่างๆ เหล่านั้นเดินทางเข้าออกเมืองสายบุรีเพื่อมาจับจ่ายซื้อสินค้า รวมถึงมาท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจหรือมาร่วมกิจกรรมต่างๆ อยู่ตลาดเวลา

“ดังนั้น เราจึงพยายามที่จะให้ตลาดเจ้าพระยาเมืองสายที่ตอบโจทย์ทุกกลุ่มเป้าหมาย เช่น กลุ่มที่มาร่วมกิจกรรมตกปลาริมแม่น้ำก็ได้มาเดินตลาดได้...ซึ่งบางร้านเตรียมสินค้ามาเพื่อขาย 3 วันแต่แค่วันเดียวก็หมดแล้ว”


เตรียมจดทะเบียนเป็นกิจการเพื่อสังคม

 

ชื่อเสียงและความไว้วางใจที่ได้รับจากกลุ่มพ่อค้าแม่ค้าและคนสายบุรีนั้น ทำให้หลายองค์กร อยากให้ทีมงานตลาดท่าพระยาเมืองสายไปออร์แกไนซ์ตลาดให้ด้วย โดยมีข้อเสนอจากนักวิชาการมหาวิทยาลัยศิลปากรให้จดทะเบียนเป็นกิจการเพื่อสังคม (SOCIAL ENTERPRISE: SE) เพื่อให้หน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่สามารถจัดจ้างดำเนินการทำตลาดได้ แทนที่จะไปจ้างบริษัทออร์แกไนซ์นอกพื้นที่ ซึ่งแนวคิดนี้ได้รับการสนับสนุนทั้งจากอำเภอสายบุรีและเทศบาลตำบลตะลุบัน

ทั้งนี้ เนื่องจากทีมงานตลาดท่าพระยาเมืองสาย มีคุณลักษณะสำคัญของกิจการเพื่อสังคมอย่างครบถ้วน เช่น มีเป้าหมายทางสังคมและสิ่งแวดล้อม มีรูปแบบการดำเนินการที่มีความยั่งยืนทางการเงินเป็นมิตรต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ผลกำไรกลับคืนสู่สังคม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ ที่สำคัญดำเนินการอย่างโปร่งใส มีธรรมาภิบาล

อรรถพลและทีมงานตลาดท่าพระยาเมืองสายซึ่งมีอยู่ประมาณสิบกว่าคน ต่างก็เห็นด้วยที่จะจดทะเบียนเป็นกิจการเพื่อสังคม (SE) แม้ว่าแต่ละคนมีงานประจำอยู่แล้ว อย่างน้อยก็สามารถที่จะขยายแนวคิดของทีมงานไปยังเยาวชนคนรุ่นใหม่ และนำไปใช้ในพื้นที่อื่นต่อไปได้

 


เปิดที่มาชื่อ “ท่าพระยาเมืองสาย”

 

สำหรับชื่อ “ตลาดท่าพระยาเมืองสาย” นั้นมาจาก “ท่าพระยาเมืองสาย” คือชื่อที่ตั้งท่าเรือโบราณริมแม่น้ำสายบุรี ซึ่งพระยานั้นเป็นตำแหน่งที่แต่งตั้งสมัย รัชกาลที่ 2 (พ.ศ.2352 - 2367) ที่แบ่งปาตานีออกเป็น 7 หัวเมือง คือ ปัตตานี เมืองยะลา ยะหริ่ง (ยิหริ่ง) ระแงะ รามัน สายบุรี และหนองจิก โดยมีพระยาเมืองปกครอง กระทั่ง พ.ศ.2475 ได้ยุบเมืองสายบุรี เป็น อ.ตะลุบัน ขึ้นกับ จ.ปัตตานี จนถึง พ.ศ.2481 ก็เปลี่ยนเป็นอำเภอสายบุรี และยกฐานะตะลุบันเป็นเทศบาลตำบล เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2483

แต่เดิมนั้น เมืองสายบุรีตั้งอยู่ตามลำน้ำ ลึกเข้าไปทาง อ.ยี่งอ จ.นราธิวาส แต่ด้วยเหตุที่ในฤดูแล้งลำน้ำแห้ง ทำให้ล่องเรือเข้าไปไม่ได้ พระยาสายจึงให้ย้ายเมืองมาตั้งใหม่บริเวณ อ.ไม้แก่น จ.ปัตตานี แต่ก็ประสบปัญหาคล้ายๆ กัน  จึงได้ย้ายเมืองมาตั้งใหม่อีกครั้ง บริเวณเขาสลินดงบายู (แปลว่าปลอดภัยจากพายุ) บริเวณเขตเทศบาลตะลุบันปัจจุบัน

 

ภาพประกอบบางส่วน นำมาจากเพจ ตลาดท่าพระยาเมืองสาย 
 

 

‘ท่าพระยาเมืองสาย’ ตลาดเพื่อชุมชน ฝีมือคนรุ่นใหม่ปัตตานี
‘ท่าพระยาเมืองสาย’ ตลาดเพื่อชุมชน ฝีมือคนรุ่นใหม่ปัตตานี
‘ท่าพระยาเมืองสาย’ ตลาดเพื่อชุมชน ฝีมือคนรุ่นใหม่ปัตตานี
‘ท่าพระยาเมืองสาย’ ตลาดเพื่อชุมชน ฝีมือคนรุ่นใหม่ปัตตานี
‘ท่าพระยาเมืองสาย’ ตลาดเพื่อชุมชน ฝีมือคนรุ่นใหม่ปัตตานี
‘ท่าพระยาเมืองสาย’ ตลาดเพื่อชุมชน ฝีมือคนรุ่นใหม่ปัตตานี
‘ท่าพระยาเมืองสาย’ ตลาดเพื่อชุมชน ฝีมือคนรุ่นใหม่ปัตตานี
‘ท่าพระยาเมืองสาย’ ตลาดเพื่อชุมชน ฝีมือคนรุ่นใหม่ปัตตานี
เนื้อหาล่าสุด